คำอธิบายรายวิชา
แผนการสอนที่ 1
แผนการสอนที่ 2
แผนการสอนที่ 5
แผนการสอนที่ 6
แผนการสอนที่ 7
แผนการสอนที่ 8
แผนการสอนที่ 9
แผนการสอนที่ 10
แผนการสอนที่ 11
แผนการสอนที่ 12
แผนการสอนที่ 13
แผนการสอนที่ 14
      
| จุดประสงค์ | เนื้อหา | กิจกรรมกรรม | การประเมิน | คำถามนำ | ใบงาน | เอกสาร |
แผนการสอนที่ 5: การผลักดันตัวยาผ่านผิวหนัง (เวลา 4 คาบ)

 

1 ความคิดรวบยอด
       เส้นโค้งเอสดี (SD curve) เป็นเส้นโค้งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความแรงหรือความเข้มของตัวกระตุ้นและความยาวของเวลาที่กระตุ้นที่ให้เกิดการตอบสนองต่อเนื่อเยื่อที่คงที่ ในทางไฟฟ้าบำบัดเส้นโค้งเอสดีหมายถึงเส้นโค้งที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความแรงของไฟ(มีหน่วยเป็นมิลลิโวลต์ หรือมิลลิแอมแปร์) กับความยาวของช่วงกระตุ้น (มีหน่วยเป็นมิลลิวินาที) ที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการหดตัวที่คงที่ โดยทั่วไปมักใช้ขนาดความแรงของกระแสไฟที่ทำให้เกิดการหดตัวของกล้ามเนื้อที่น้อยที่สุด ในทางคลินิกมักใช้เส้นโค้งเอสดีในการหา กระแสไฟที่เหมาะสมในการกระตุ้น (utilization time), ใช้คำนวณหาค่ากระแสไฟที่น้อยที่สุดที่ทำให้เกิดการตอบสนอง (rheobase), ช่วงการกระตุ้นที่ใช้ไฟเป็น 2 เท่าของ rheobase, (chronaxie) และค่าการปรับตัวของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท (accommodability)

2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

     เมื่อจบการเรียนการสอนนี้แล้ว นักศึกษาสามารถ
        1. อธิบายความหมายของการกระตุ้นด้วยเทคนิค iontophoresis ได้ อย่างถูกต้อง
        2. อธิบายผลจากการกระตุ้นด้วยเทคนิค iontophoresis
        3. อธิบาย ข้อบ่งชี้และข้อควรระวัง จากการใช้เทคนิค iontophoresis
        4. แสดงวิธีการกระตุ้นด้วยเทคนิค iontophoresis

3. เนื้อหา

   1. เทคนิค iontophoresis เป็นเทคนิคการส่งผ่านไอออนเข้าเนื้อเยื่อด้วยกระแสไฟตรง ซึ่ง Le Dec เป็นผู้ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1903
   2. หลักการใช้เทคนิค iontophoresis กายภาพบำบัด เพื่อการรักษาก็คือ การนำเอาตัวยามาละลาย ในตัวทำละลาย ให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน จากนั้นใช้ผ้าชุบตัวทำละลาย วางลงบนผิวหนังใต้ขั้วกระตุ้น หากไอออนนั้นมีขั้วลบก็วางไว้ใต้ขั้วลบหากไอออนนั้นเป็นขั้วบวกก็ควรวางไว้ใต้ขั้วบวก เพื่อให้ประจุไฟฟ้าที่เหมือนกันผลักกัน เข้าสู่เนื้อเยื่อ
   3. วัตถุประสงค์ ของการใช้เทคนิค iontophoresis ทางคลินิก ได้แก่ 1) ใช้เป็นยาชาเฉพาะที่, 2) ใช้ลดบวม, 3) ใช้ลดการอักเสบ, 4) ใช้รักษาโรคผิวหนังบางชนิด
   4. เทคนิควิธีการ และตัวอย่างไอออนชนิดต่างๆที่ใช้สำหรับรักษาทางกายภาพบำบัด (ในหนังสือเอกสารคำสอน หน้า 80-85)
   5. ข้อบ่งชี้ และข้อควรระวัง ในการกระตุ้นด้วยเทคนิค iontophoresis เช่น ไม่เปิดกระแสไฟฟ้าให้แรงเกินไป, ระหว่างทำการกระตุ้นต้องมีการสอบถามความรู้สึกของผู้ถูกกระตุ้นเป็นระยๆเสมอ
   6. หลักการเตรียมเครื่องมือ และการเตรียมถูกกระตุ้น เช่น การกระตุ้นบริเวณเข่า แผ่นหลัง และข้อเท้า เป็นต้น
   7. ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการกระตุ้น เช่น เกิดการไหม้พอง, การเกิดผื่นคัน เป็นต้น
   

4. กิจกรรมการเรียนการสอน
    
    4.1 ขั้นนำ

   1ผู้สอนทบทวนเรื่อง ชนิดของกระแสไฟฟ้าที่ใช้กระตุ้นเพื่อการรักษา ที่ได้เคยเรียนในบทเรียนก่อนๆ โดยถามผู้เรียนว่า กระแสไฟฟ้าที่ใช้สำหรับการกระตุ้นเพื่อการรักษาทางกายภาพบำบัดได้แก่ กระแสชนิดใดบ้าง (ผู้เรียนอาจตอบว่า กระแสไฟตรง, กระแสไฟสลับ, กระแสไฟฟาราดิก, ฯลฯ) ผู้สอนถามนำว่า ขณะนี้ได้มีการนำวิธีการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าไปใช้ในการเสริมความงามบริเวณใบหน้า โดยการผลักดันตัวยาเข้าผิวหนังบริเวณใบหน้า ทำให้ใบหน้าอ่อนกว่าวัยซึ่งเทคนิคดังกล่าวเรียกว่า "เทคนิค iontophoresis" และแจ้งผู้เรียนว่า “วันนี้จะเรียนเรื่อง เทคนิค iontophoresis" จากนั้นผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์และกิจกรรมในการเรียน จากนั้นผู้สอนแจ้งจุดประสงค์และกิจกรรมการเรียนการสอน
  
   4.2 ขั้นสอน: เสนอปัญหา/เนื้อหา
   ผู้สอนนำเสนอวิดีทัศน์ (vedeo tape) การใช้ เทคนิคการกระตุ้น iontophoresis ในการเสริมความงามที่โฆษณาในทีวี ให้ผู้เรียนพิจารณา
   ผู้สอนอธิบายลำดับขั้นตอนปฏิบัติการที่ 5 ตามคู่มือปฏิบัติการ และแนะนำปัญหาที่มักเกิดขึ้นระหว่างการฝึกปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 1) การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อผลักดันตัวยาในสารละลายชนิดต่างๆผ่านผิวหนังใต้ขั้วกระตุ้นและ 2) การกระตุ้นไฟฟ้าผ่านสารละลายชนิดต่างๆ บริเวณเท้า โดยให้ผู้ถูกกระตุ้นจุ่มเท้าลงในสารละลาย แล้ววางขั้วกระตุ้นที่เป็น active electrode ลงบริเวณใต้ฝ่าเท้า (ให้ผู้ถูกกระตุ้นเหยียบไว้) ส่วนอีกขั้วหนึ่งจุ่มลงในสารละลายเพื่อให้ครบวงจร แล้วให้ผู้เรียนลงมือฝึกปฏิบัติตามคู่มือ
   ผู้สอนแจกใบงานซึ่งเป็นประเด็นปัญหา สถานการณ์ปัญหา และกรณีผู้ป่วยที่เกี่ยวข้องกับการระงับปวดด้วยการกระตุ้นเพื่อผลักดันตัวยาผ่านผิวหนังใต้ขั้วกระตุ้น ให้กับผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มย่อย

    4.2.1 กิจกรรมไตร่ตรองรายบุคคล
   ผู้เรียนทำความเข้าใจกับใบงาน โดยการคิดพิจารณาด้วยตนเองอย่างอิสระตามลำพังห้ามมิให้ปรึกษาหารือกัน ผู้เรียนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากเอกสารประกอบการสอนหรือหนังสือในห้องสมุดเพิ่มเติมได้ โดยผู้สอนพยายามกระตุ้นเร่งเร้าให้ผู้เรียนอ่านและตอบประเด็นปัญหาในใบงานอย่างไตร่ตรอง และพยายามสรุปประเด็นเนื้อหาและหาคำตอบในใบงานเป็นคำพูดของตนเอง และพยายามเขียนเป็นแผนภูมิ หรือ concept map เพื่ออธิบายให้เพื่อนในกลุ่มย่อยต่อไป

    4.2.2 กิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย
   หลังจากที่ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้กระบวนการคิดของตนเองแล้ว ให้ผู้เรียนได้รวมกลุ่มย่อยกับเพื่อนที่ได้แบ่งกันไว้แล้ว เพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆสมาชิกในกลุ่ม ได้มีโอกาสเปรียบเทียบในสิ่งที่ตนเองคิดกับผู้อื่นโดยการนำเสนอเนื้อหาของตนเองที่ได้บันทึกไว้กับเพื่อนในกลุ่มซึ่งขณะที่นั่งฟังเพื่อนนำเสนอ ร่วมกันอภิปรายและช่วยกันสรุปแนวคิดดังกล่าวนั้นให้เป็นแนวคิดของกลุ่ม ในรูปแผนภูมิมโนมติ (concept map) หรือตารางเพื่อนำเสนอในกลุ่มใหญ่ต่อไป

   4.2.3 การเสนอผลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อกลุ่มใหญ่
   ผู้สอนสุ่มกลุ่มผู้เรียนให้ส่งตัวแทนของกลุ่มเพื่อนำเสนอแนวคิดต่อประเด็นที่ให้ตามใบงานของกลุ่มต่อกลุ่มใหญ่ โดยผู้สอนเร่งเร้าการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ร่วมกันอภิปรายแสดงเหตุผลและความคิดเห็นของตน ของกลุ่มย่อย ต่อกลุ่มใหญ่รวมเป็นความคิดเห็นของชั้น

   4.3 ขั้นสรุป
         ผู้สอนร่วมกับผู้เรียนร่วมกันสรุปแนวคิด หลักการ หรือความคิดรวบยอดของทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสรุปเนื้อหาตามหลักสูตร
         เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามประเด็นที่สงสัยทั้งหมด โดยเฉพาะในจุดที่ยังไม่เข้าใจ โดยผู้สอนจะอธิบายเพิ่มเติมจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจทั้งหมดอย่างชัดเจน

   4.4 ขั้นพัฒนาทักษะ 
   1.ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการเอง โดยการจับคู่กับเพื่อนสลับเป็นหุ่นและผู้กระตุ้น โดยการกระตุ้นกล้ามเนื้อบริเวณแขน ด้วยกระแสไฟฟ้าชนิดต่างๆ โดยใช้เทคนิคกระตุ้นหลายชนิด ตามคู่มือปฏิบัติการจนเกิดความมั่นใจ รวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นขณะทำการกระตุ้น
   2.ร่วมกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายผลและปัญหาที่แต่ละคนพบจากการฝึก สรุปปัญหา และส่งตัวแทนเพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาที่ได้รับมอบหมาย   3.เปรียบเทียบกับชนิดของเครื่องกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นประสาทแต่ละชนิด
   
    4.5 ขั้นพัฒนาการนำไปใช้
    ผู้สอนเสนอประเด็นปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนค้นคว้าผ่าน web page ในหัวข้อการประยุกต์ใช้เทคนิค iontophoresis ทางการแพทย์ปัจจุบัน: ความก้าวหน้าและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง โดยส่งรายงานภายใน 2 สัปดาห์
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนนำเสนอผลงานและปัญหาของกลุ่มระหว่างการทำงานที่ได้รับมอบหมาย


5. การประเมินผล
   เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้วผู้สอนจะประเมินผลการเรียนการสอนดังต่อไปนี้
   1. ประเมินความรู้ความเข้าใจตามเนื้อหาในบทเรียน โดยการสอบย่อยท้ายในแต่ละเรื่อง โดยที่ทุกคนจะต้องทำข้อสอบอย่างเต็มความสามารถ โดยไม่ช่วยเหลือกันพยายามทำข้อสอบให้ดีที่สุด เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของตนเองและเพื่อให้กลุ่มประสบผลสำเร็จในที่สุด
   2. ประเมินความรู้ความเข้าใจในบทเรียนโดยใช้ผลงานผู้เรียนเป็นหลัก แบ่งออกเป็น
       1) ผลงานรายบุคคล เป็นผลงานที่ผู้เรียนแต่ละคนปฏิบัติขณะร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
       2) ผลงานของกลุ่ม เป็นผลงานที่ผู้เรียนปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่มในระหว่างที่ร่วมกิจกรรม
   3. การสะท้อนผลการทำงานของกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มประเมินการทำงานของตนเอง แล้วเสนอผลการประเมิน และสิ่งที่ต้องการปรับปรุงต่อไป
   4. ประเมินกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยคณาจารย์ผู้ร่วมสอน โดยการสังเกตการทำกิจกรรมของผู้เรียนด้วยแบบประเมินพฤติกรรม และสุ่มสัมภาษณ์ผู้เรียนโดยแบบสัมภาษณ์


แนวคำถามแผนการสอนที่ 5


    1. iontophoresis ทางกายภาพบำบัดคืออะไร ท่านสามารถอธิบายประเด็นดังกล่าว พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบได้หรือไม่อย่างไร
    2. ขั้นตอนของการทำ iontophoresis เป็นอย่างไร ท่านสามารถยกตัวอย่าง และสาธิตประเด็นดังกล่าวได้หรือไม่อย่างไร
    3. เพราะเหตุใดเทคนิค iontophoresis จึงมักไม่นิยมใช้ในด้านการรักษาทางกายภาพบำบัดปัจจุบัน
    4. เทคนิค iontophoresis ไม่เหมาะที่จะใช้กับผู้ป่วยในกรณีใด จงยกตัวอย่างและแสดงเหตุผลประกอบ
    5. ให้ค้นหาข้อมูลผ่าน web page ในประเด็น การประยุกต์ใช้ iontophoresis ทางการแพทย์ปัจจุบัน


ใบงานแผนการสอนที่ 5
-------------------------------------------------------------

1. คำชี้แจง
   1. หลังจากนักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติการที่ 5 ตามคู่มือปฏิบัติการ และอ่านกรณีตัวอย่างที่กำหนดแล้ว ให้พิจารณาประเด็นปัญหาที่ให้ โดยนักศึกษาจะต้องเป็นผู้พิจารณาด้วยตนเอง ไม่ปรึกษาหารือผู้อื่น ใช้เวลา ประมาณ 20 นาที
   2. จากนั้นให้นักศึกษารวมกลุ่มย่อย และปรึกษาหารือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันกับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นเวลาประมาณ 20 นาที
  3. นำเสนอข้อสรุปที่ได้ในกลุ่ม ใช้เวลากลุ่มละ 5 นาท

----------------------------------------------------------------

สถานการณ์ที่กำหนด

   สมรมีอาการปวดข้อเท้าทั้ง 2 ข้าง จากโรครูมาติซั่ม จำเป็นต้องรับประทานยาระงับอาการปวดเป็นประจำ ซึ่งยาดังกล่าว จะถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิต ตามทางเดินอาหาร และมักเกิดมีผลข้างเคียงต่อกระเพาะอาหาร (ทำให้กระเพาะอาหารเป็นแผล) นักกายภาพบำบัดแนะนำให้นำยาดังกล่าวมาละลายในตัวทำละลายที่เหมาะสม ยานั้นจะแตกตัวเป็นไอออน/ประจุ ชุบสารละลายดังกล่าวด้วยผ้า แล้ววางใต้ขั้วกระตุ้น ที่มีประจุเช่นเดียวกับ สารละลายนั้น วางขั้วกระตุ้นบริเวณเข่า ปรับปริมาณกระแสไฟฟ้า ให้พอเหมาะ เพื่อผลักดันไอออน/ประจุ ผ่านทางต่อมเหงื่อเข้าสู่ร่างกายบริเวณที่ปวด เพื่อระงับปวด โดยไม่เกิดผลแทรกซ้อนต่อกระเพาะอาหาร ซึ่งเทคนิคการผลักดันตัวยาด้วยกระแสไฟตรงผ่านผิวหนังเรียก เทคนิคนี้ว่า iontophoresis

จากกรณีตัวอย่างดังกล่าวท่านมีความคิดเห็นอย่างไร? จงตอบประเด็นคำถามดังต่อไปนี้
  1. เป็นไปได้ดังกรณีดังกล่าวหรือไม่
  2. ทำไมต้องวางผ้าชุบสารละลาย ที่มีไอออนของตัวยา ที่มีประจุเดียวกันกับขั้วกระตุ้น เช่น วางไอออนสารละลายที่มีประจุบวกไว้ที่ใต้ขั้วบวก และวางไอออนสารละลายที่มีประจุลบไว้ที่ใต้ขั้วลบ
  3.ไอออนของตัวยากรณีดังกล่าวได้แก่ไอออนชนิดใดบ้าง
  4. จงอธิบายเทคนิคการกระตุ้นอย่างเป็นลำดับขั้นตอน โดยละเอียดเพื่อให้สมรและญาติสามารถทำเองได้
  5. ข้อบ่งชี้และข้อควรระวัง การใช้เทคนิค iontophoresis
  6. ท่านจะมีข้อแนะนำอื่นๆ เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตัว และเทคนิคการกระตุ้นด้วยกระแสไฟ
ฟ้าความถี่ต่ำอีกหรือไม่

-----------------------------------------------------------

 
ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: จ.ขอนแก่น 40002
Copyright @ 2003 , All right reserved | Comments & Suggestions : somch_ra@kku.ac.th |