คำอธิบายรายวิชา
แผนการสอนที่ 1
แผนการสอนที่ 2
แผนการสอนที่ 5
แผนการสอนที่ 6
แผนการสอนที่ 7
แผนการสอนที่ 8
แผนการสอนที่ 9
แผนการสอนที่ 10
แผนการสอนที่ 11
แผนการสอนที่ 12
แผนการสอนที่ 13
แผนการสอนที่ 14
      
| จุดประสงค์ | เนื้อหา | กิจกรรมกรรม | การประเมิน | คำถามนำ | ใบงาน | เอกสาร |
แผนการสอนที่ 10: การระงับปวดด้วยไฟฟ้า (เวลา 4 คาบ)

 

1 ความคิดรวบยอด
       ความรู้สึกเจ็บปวด คือประสบการณ์ที่เกิดจากปฏิกิริยาที่ซับซ้อนระหว่างทางกายภาพและทางจิตวิทยา ซึ่งขึ้นกับความรู้สึกไม่สบายและด้านอารมณ์ร่วมด้วย มักเกิดขึ้นขณะที่ร่างกายได้รับบาดเจ็บของเนื้อเยื่อโดยตรง เพื่อตอบสนองต่อการบาดเจ็บของร่างกายเพื่อความอยู่รอด การใช้กระแสไฟฟ้ากระตุ้นเพื่อการระงับปวดเป็นวิธีหนึ่งในการบำบัดความเจ็บปวด
      การระงับอาการปวดโดยเฉพาะอาการปวดข้อเรื้อรังด้วยการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าความถี่ต่ำ สามารถใช้กระแสไฟฟ้าได้หลายชนิด เช่น การใช้กระแสไฟแกลแวนิก การใช้กระแส IDC ที่เหมาะสม (TENS) การใช้กระแสไฟฟาราดิก และการผลักดันตัวยาผ่านผิวหนัง โดยทั่วไปการกระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้าเพื่อการบรรเทาอาการปวดมักนิยมใช้กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการปวดเรื้อรัง และมักเกิดผลแทรกซ้อนจากยาที่รับประทาน หรือการรักษาด้วยวิธีอื่นๆไม่ได้ผลเท่าที่ควร

2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

     เมื่อจบการเรียนการสอนนี้แล้ว นักศึกษาสามารถ
        1. อธิบายวิธีการให้การรักษาผู้ที่มีอาการปวดด้วยวิธีการกระตุ้นด้วยกระไฟฟ้า
        2. ประยุกต์และเลือกเทคนิคการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพื่อบรรเทาอาการปวดให้กับผู้ป่วยอย่างเหมาะสม
        3. อธิบายข้อบ่งชี้และข้อควรระวังของการใช้เทคนิคการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าเพื่อการระงับปวด้
        4. แสดงเทคนิคการกระตุ้นด้วยไฟฟ้าการระงับปวด

3. เนื้อหา

   1. ความรู้สึกเจ็บปวดสามารถแบ่งตามช่วงเวลาและสาเหตุได้เป็น 3 ชนิด คือ อาการปวดเฉียบพลัน อาการปวดเรื้อรัง และอาการปวดร้าว
   2. อาการปวดเฉียบพลัน เป็นอาการปวดที่เกิดขึ้นทันทีหลังร่างกายได้รับบาดเจ็บ และคงอยู่เป็นระยะเวลาน้อยกว่า 6 เดือน
   3. อาการปวดเรื้อรังเป็นอาการปวดที่ยังคงอยู่เกินระยะการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อ มักเป็นผลจากการตอบสนองทางจิตวิทยาและ/หรือระบบประสาทที่ทำงานผิดปกติ
   4. อาการปวดร้าวเป็นความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณหนึ่งซึ่งห่างออกไปจากจุดที่ได้รับบาดเจ็บหรือมีพยาธิสภาพ
   5. การถ่ายทอดความรู้สึกเจ็บปวดไปสู่สมอง เริ่มจากตัวรับความรู้สึกส่งสัญญาณความรู้สึกเจ็บปวดเข้าสู่ไขสันหลังไปยังก้านสมองเพื่อส่งต่อไปยังธาลามัสและสมองระดับสูงต่อไป
   6. ในภาวะปกติร่างกายจะมีกลไกจากระบบประสาทส่วนกลางเพื่อช่วยปรับและยับยั้งความเจ็บปวด โดยสมองจะส่งสัญญาณประสาทผ่านเซลล์ประสาทขาลงมายับยั้งการนำสัญญารประสาทความรู้สึกเจ็บปวดที่บริเวณไขสันหลัง ซึ่งพบหลักฐานสำคัญได้แก่ ตัวรับและสารฝิ่นหลายชนิดได้แก่ endorphins, enkephalins และ dynorphins เป็นต้น
   7. ทฤษฎีที่อธิบายเกี่ยวกับการลดความเจ็บปวดปัจจุบันได้แก่ ทฤษฎีเกี่ยวกับสารฝิ่นในร่างกาย, Gate control theory
   8. การรักษาความเจ็บปวดทางการแพทย์สามารถกระทำได้ทั้ง ด้านอายุรกรรม ด้านศัลยกรรม การฝังเข็ม และวิธีการทางกายภาพบำบัด
   9. การกระตุ้นไฟฟ้าเพื่อระงับปวดสามารถทำให้ในอาการปวดระยะเฉียบพลัน ปวดเรื้อรัง และปวดร้าว โดยสามารถวางขั้วได้ทั้งบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด วางที่จุดเฉพาะ วางที่ dermatome และไขสันหลังระดับเดียวกับบริเวณที่มีอาการเจ็บปวด
  10. การระงับปวดด้วยกระแสไฟฟ้าสามารถใช้กระแสไฟ 1) แกลแวนิก(ดูแผนการสอนที่ 1) 2) IDC (ดูแผนการสอนที่ 6) 3) ฟาราดิก (แผนการสอนที่ 7) และ 4) เทคนิคการผลักดันตัวยาผ่านผิวหนัง (แผนการสอนที่ 5)
  11. การปรับความแรงของกระแสเพื่อระงับปวดสามารถปรับได้ทั้งระดับ 1)ต่ำกว่าความรู้สึกรับรู้ 2)ระดับรู้สึกรับรู้ 3)ระดับมอเตอร์ 4)ระดับรู้สึกเจ็บ

4. กิจกรรมการเรียนการสอน
    
    4.1 ขั้นนำ

   ผู้สอนทบทวนเรื่อง ชนิดของกระแสไฟฟ้าที่ใช้กระตุ้นเพื่อการรักษา โดยเฉพาะการรักษาอาการปวดและบวมของกล้ามเนื้อและข้อต่อ ที่ได้เคยเรียนในบทเรียนก่อนๆ โดยถามผู้เรียนว่า กระแสไฟฟ้าที่ใช้สำหรับการกระตุ้นเพื่อการระงับปวดและบวมได้แก่ กระแสชนิดใดบ้าง (ผู้เรียนอาจตอบว่า กระแสไฟตรง, กระแสไฟสลับ, กระแสไฟฟาราดิก, ฯลฯ) ผู้สอนถามนำว่า การเลือกใช้เทคนิคต่างๆมีข้อดีและข้อจำกัด และมีความเหมาะสมแตกต่างกัน ดังนั้นการเลือกใช้เทคนิคใดนั้นควรจะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ อย่างมีวิจารณญาณจากนั้นผู้สอนแจ้งวัตถุประสงค์และกิจกรรมในการเรียน
   ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์และกิจกรรมการเรียนการสอน
  

   4.2 ขั้นสอน: เสนอปัญหา/เนื้อหา
   ผู้สอนทบทวน ประสาทสรีรวิทยาของความรู้สึกเจ็บปวด ด้วยการบรรยาย
   บรรยายเทคนิคและวิธีการกระตุ้นเพื่อการระงับความรู้สึกเจ็บปวดด้วยกระแสไฟฟ้า

    4.2.1 ขั้นพัฒนาทักษะ
   1.ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการเอง โดยการจับคู่กับเพื่อนสลับเป็นหุ่นและผู้กระตุ้น ตามคู่มือปฏิบัติการจนเกิดความมั่นใจ รวบรวมปัญหาที่เกิดขึ้นขณะทำการกระตุ้น
   2.ร่วมกลุ่มย่อย เพื่ออภิปรายผลและปัญหาที่แต่ละคนพบจากการฝึก สรุปปัญหา และส่งตัวแทนเพื่อนำเสนอประเด็นปัญหาต่อกลุ่มใหญ่ในชั้นเรียน
   
   4.3 ขั้นสรุป
         ผู้สอนร่วมกับผู้เรียนร่วมกันสรุปแนวคิด หลักการ หรือความคิดรวบยอดของทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสรุปเนื้อหาตามหลักสูตร เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามประเด็นที่สงสัยทั้งหมด โดยเฉพาะในจุดที่ยังไม่เข้าใจ โดยผู้สอนจะอธิบายเพิ่มเติมจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจทั้งหมดอย่างชัดเจน

   
    4.4 ขั้นพัฒนาการนำไปใช้
    ผู้สอนมอบหมายให้ผู้เรียนนำเทคนิคการกระตุ้นเพื่อการระงับปวดไปใช้ในการระงับปวดที่เกิดจากกล้ามเนื้อทำงานมากเกิด ภาวะตึงเครียดจากการทำงานในท่าใดท่าหนึ่งเป็นเวลานาน เป็นต้น


5. การประเมินผล
   เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้วผู้สอนจะประเมินผลการเรียนการสอนดังต่อไปนี้
   1. ประเมินความรู้ความเข้าใจตามเนื้อหาในบทเรียน โดยการสอบย่อยท้ายในแต่ละเรื่อง โดยที่ทุกคนจะต้องทำข้อสอบอย่างเต็มความสามารถ โดยไม่ช่วยเหลือกันพยายามทำข้อสอบให้ดีที่สุด เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของตนเองและเพื่อให้กลุ่มประสบผลสำเร็จในที่สุด
   2. ประเมินความรู้ความเข้าใจในบทเรียนโดยใช้ผลงานผู้เรียนเป็นหลัก แบ่งออกเป็น
       1) ผลงานรายบุคคล เป็นผลงานที่ผู้เรียนแต่ละคนปฏิบัติขณะร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
       2) ผลงานของกลุ่ม เป็นผลงานที่ผู้เรียนปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่มในระหว่างที่ร่วมกิจกรรม
   3. การสะท้อนผลการทำงานของกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มประเมินการทำงานของตนเอง แล้วเสนอผลการประเมิน และสิ่งที่ต้องการปรับปรุงต่อไป
   4. ประเมินกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยคณาจารย์ผู้ร่วมสอน โดยการสังเกตการทำกิจกรรมของผู้เรียนด้วยแบบประเมินพฤติกรรม และสุ่มสัมภาษณ์ผู้เรียนโดยแบบสัมภาษณ์

-----------------------------------------------------------

 
ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: จ.ขอนแก่น 40002
Copyright @ 2003 , All right reserved | Comments & Suggestions : somch_ra@kku.ac.th |