หน้าหลัก
ประวัติภาควิชา
ฝ่ายบริหารของภาควิชา
บุคลากรในภาควิชา
หลักสูตรการเรียนการสอน
งานวิจัย
หนังสื่อ/สื่อการสอน
คลินิกกายภาพบำบัด
โครงงานพัฒนาคุณภาพ
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ
 
 



ตัดตอนจากบทความเรื่อง ประวัติและผลงานภาควิชากายภาพบำบัด
หนังสือ 25 ปี กายภาพบำบัด

โดย รศ. เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต

            จากการขาดแคลนนักกายภาพบำบัดของฝ่ายผู้ใช้บริการคือโรงพยาบาลศูนย์แพทย์ ซึ่งเปิดทำการรับผู้ป่วยมากขึ้น และความรับผิดชอบของฝ่ายผลิตคือคณะเทคนิคการแพทย์ ซึ่งมี ผศ.นพ.พิสิฏฐ์ สัณฑ์พิทักษ์ เป็นคณบดี จึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องรีบเร่งดำเนินการ ผลิตบุคลากรทางกายภาพบำบัดขึ้น โดยมีการประสานงานร่วมกันระหว่างคณะเทคนิคการ แพทย์และคณะแพทยศาสตร์ ซึ่งมี ผศ.พญ.เนตรเฉลียว สัณฑ์พิทักษ์ เป็นคณบดีในขณะนั้น ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวมีโครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ
มหาวิทยาลัยนอตติงแฮมอยู่ ดร.เฮดเล่ย์ผู้แทนจากมหาวิทยาลัยนอตติงแฮม จึงได้เข้าร่วม ในการวางแผนการจัดตั้ง ภาควิชากายภาพบำบัด และเสนอความช่วยเหลือในการแนะนำ ติดต่อด้านอาสาสมัครและนักกายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญ จากสหราชอาณาจักรอังกฤษ

            โครงการจัดตั้งภาควิชาฯ และผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2523 โดยจัด เป็นโครงการขยายงานของ คณะเทคนิคการแพทย์และเป็นโครงการที่ได้กำหนดไว้แล้วใน โครงการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาสำหรับแผนงาน ผลิตบัณฑิต ในช่วงแผนพัฒนาฯ ระยะที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529)

            การร่างหลักสูตร เนื่องจากในขณะนั้นในมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีผู้จบการศึกษากายภาพ บำบัดอยู่เพียงสองคนคือ ผศ.กมลทิพย์ รัตนไพโรจน์ อาจารย์ในภาควิชากายวิภาคศาสตร์ และนางสาวเพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต อาจารย์ในภาควิชา สรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จึงถูก เสนอชื่อให้เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ ในขั้นแรกได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการร่าง
โครงการผลิตบุคลากรด้านกายภาพบำบัดจำนวน 6 ท่านคือ

  1. ผศ.นพ.พิสิฏฐ์ สัณฑ์พิทักษ์
  2. ผศ.นพ.ชนินทร์ มหรรฆานุเคราะห์
  3. ผศ.กมลทิพย์ รัตนไพโรจน์
  4. อาจารย์เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต
  5. มิสซิสอิเรน่า กิบบิ้นส์
  6. อาจารย์สุภินันท์ สายเชื้อ
  7. ผศ.นพ.พลศักดิ์ จีระวิพูลวรรณ
ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ 95/2523 สั่ง ณ วันที่ 28 มกราคม 2523

จากการประชุมครั้งแรกในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2523 ได้มีการพิจารณาว่าหลักสูตรที่จะตั้ง ขึ้นควรจะเป็นระดับปริญญา หรือต่ำกว่าปริญญา หลังจากการพิจารณาโดยรอบคอบแล้วเห็น ว่านักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ ในส่วนภูมิภาคนี้จะต้อง ปฏิบัติงานตามลำพังโดยขาดที่ปรึกษา จึงสมควรให้มีความรู้ความชำนาญในวิชาชีพเป็นอย่างดี และให้สอดคล้องกับหลักสูตร กายภาพบำบัด คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดลและของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่ที่กำลังจะก่อตั้งขึ้น แต่เนื้อหาของหลักสูตรควรจะเน้นถึงการปฏิบัติเทคนิคทาง กายภาพบำบัดให้มากขึ้น โดยหลักสูตรวิทยาศาสตร์พื้นฐานควรจะลดเหลือหนึ่งปี ที่ประชุม ได้มอบหมายให้อาจารย์สุภินันท์ สายเชื้อ ดำเนินการเกี่ยวกับหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์พื้น ฐานและอาจารย์เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิตร่างโครงร่างของหลักสูตรทางกายภาพบำบัด หลัง จากการประชุมครั้งที่สองเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2523 ผศ.กมลทิพย์ รัตนไพโรจน์ ได้เดิน ทางไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาเอก จึงมีมติให้แต่งตั้งกรรมการเพิ่มเติม ดังนี้
  1. รศ.นพ.นภดล ทองโสภิต
  2. นพ.ณรงค์ โอภานนท์อมตะ
  3. นพ.จงรักษ์ ภักดีกุล
  4. นพ.เทอดชัย ชีวเกตุ
  5. อาจารย์วิยะดา ศักดิ์ศรี
ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ 399/2523 สั่ง ณ วันที่ 9 เมษายน 2523

นอกเหนือจากคณะกรรมการดังกล่าวนี้แล้ว อาจารย์โรงเรียนกายภาพบำบัด ศิริราช, เชียงใหม่ และนักกายภาพบำบัดอาวุโสหลายท่าน โดยเฉพาะ ผศ.กานดา ใจภักดี, ผศ.ปฐม รัตน์ ศักดิ์ศรี (เตียงพิทักษ์), รศ.สุรศักดิ์ ศรีสุข, อาจารย์ถนัด โกมลวรรธนะ, ผศ.ประโยชน์ บุญสินสุข, อาจารย์ณรงค์ สุขาบูรณ์, ตลอดจนอาจารย์ลาวัลย์ พานิชเจริญ ผู้มีประสบการณ์ ทำงานในภูมิภาคนี้ ได้มีส่วนช่วยอย่างมากในการเสนอข้อคิดเห็นและให้ข้อมูลในการ พิจารณาร่างหลักสูตรครั้งนี้ ทำให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเรียบร้อย

จากการประชุมทั้งหมด 5 ครั้ง สี่ครั้งแรกพิจารณาหลักสูตรซึ่งอาศัยเค้าโครงร่างหลักสูตร ของโรงเรียนกายภาพบำบัด ศิริราช และของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซึ่งกำลังจะก่อตั้งขึ้น และได้นำมาแก้ไขปรับปรุงให้เหมาะสมกับการบริการทางกายภาพบำบัดในภูมิภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือนี้ การประชุมครั้งที่ 5 เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2523 ได้พิจารณาถึงเรื่องงบ ประมาณค่าใช้จ่ายและอัตรากำลังโดยวางแผนจะเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2525

โครงการจัดตั้งภาควิชาและผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ผ่านการเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการประชุม ครั้งที่ 8/2524 เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน 2524 และผ่านการเห็นชอบจากทบวง มหาวิทยาลัยฯ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2525

ภาควิชากายภาพบำบัดได้รับอนุมัติแบ่งส่วนราชการถูกต้องตามกฎหมาย ตามราชกิจจา นุเบกษา เล่มที่ 99 ตอนที่ 175 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2525 และ ผศ.เพ็ญพิมล ธัม มรัคคิต ได้รับแต่งตั้งเป็นหัวหน้าภาควิชากายภาพบำบัดคนแรกเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2526 เนื่องจากความไม่พร้อมทั้งปวงโดยเฉพาะด้านบุคลากร กำหนดเปิดรับนักศึกษารุ่น แรกจำเป็นต้องเลื่อนจากปี 2525 มาเป็นปี 2526 โดยนักศึกษารุ่นแรกมีจำนวน 20 คน เป็นนักเรียนดีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 60% และนักเรียนสอบคัดเลือกจากส่วนกลางอีก 40%

การจัดทำและรวบรวมรายละเอียดวิชาในหลักสูตรกายภาพบำบัด ได้ดำเนินการโดยคณะ กรรมการซึ่งประกอบขึ้นด้วย
  1. ผศ.เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต ประธานกรรมการ
  2. อาจารย์ลาวัลย์ พานิชเจริญ กรรมการ
  3. อาจารย์วิชัย อึงพินิจพงศ์ กรรมการ
  4. อาจารย์สมชาย รัตนทองคำ กรรมการและเลขานุการ
ตามคำสั่งคณะเทคนิคการแพทย์ที่ 9/2526 สั่ง ณ วันที่ 28 เมษายน 2526

และเพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างเรียบร้อยและรวดเร็วจึงได้จัดให้มีการสัมมนาพัฒนา หลักสูตรครั้งที่ 1 เรื่อง การจัดทำรายละเอียดวิชาต่างๆ ในหลักสูตร คณะเทคนิคการ แพทย์ ระหว่างวันที่ 26-28 พฤษภาคม 2526 ณ วนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ในการนี้ได้ เชิญวิทยากรเข้าร่วมสัมมนาทั้งจากสถาบันการศึกษาอื่นและจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์และให้คำแนะนำปรึกษา คือ ผศ.ประโยชน์ บุญสินสุข จากโรงเรียนกายภาพบำบัด ศิริราช, ผศ.ปฐมรัตน์ ศักดิ์ศรี จากโครงการจัดตั้งภาควิชา กายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, อาจารย์วิยะดา ศักดิ์ศรี นัก กายภาพบำบัด โรงพยาบาลประสาท, อาจารย์จรรยา สงเคราะห์และ อาจารย์พรรณี เฟื่องฟุ้ง นักกายภาพบำบัด จากโรงพยาบาลชลบุรี ผู้เข้าสัมมนาทั้งหมดที่กล่าวนี้ได้ปฏิบัติหน้าที่ อย่างแข็งขันตลอดระยะเวลาอันจำกัดนี้ โดยมิเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยจนกระทั้งทำให้ได้รายละเอียดวิชาในหลักสูตรกายภาพบำบัดเป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอนได้อย่าง เหมาะสม

คณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ มีมติรับรองหลักสูตรนี้ในการประชุมครั้งที่ 4/2529 วันที่ 19 พฤษภาคม 2529

ในระยะต่อมาได้มีการพัฒนาดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติมบ้างเป็นระยะๆ ในเรื่องรายละเอียด ปลีกย่อยต่างๆ และปรับโปรแกรมการศึกษาให้เป็นไปตามขีดความสามารถ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น

การพิจารณาหลักสูตรได้คำนึงถึงการพัฒนาศักยภาพของการฝึกงานทางกายภาพบำบัดโดย เริ่มตั้งแต่ปี 1 ถึง ปี 4 อย่างต่อเนื่อง โดยมีการฝึกงานทั้งในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และ โรงพยาบาลในเขตภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนโรงพยาบาลเฉพาะทางในกรุงเทพฯ รวมถึงการ ฝึกปฏิบัติ งานในรูปของทีมงานสุขภาพในชุมชนชนบท ร่วมกับนักศึกษาอื่นๆ ในศูนย์วิทยา ศาสตร์สุขภาพ เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ของการทำงานเป็นหมู่คณะร่วมกับ บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขอื่นๆ อันจะเป็นรากฐานที่ดีสำหรับการทำงานร่วมกัน ในอนาคต

นโยบายในการดำเนินการบริหารงานภาควิชากายภาพบำบัด สืบเนื่องมาจากการประชุมปรึกษาหารือระหว่าง ดร.เฮดเล่ย์, คณบดีคณะแพทยศาสตร์ คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์, หัวหน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ฯ มิสซีสอิเรน่า กิบบิ้นส์ และ อาจารย์เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต ในเดือนกรกฎาคม 2523 ได้มีการพิจารณาถึงนโยบายการ ดำเนินงานทางกายภาพบำบัดในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพขอนแก่น และได้มีข้อสรุปที่ สำคัญคือ
  1. ควรจะมีบุคลากรทางกายภาพบำบัดสังกัดอยู่ทั้งในคณะเทคนิคการแพทย์และคณะแพทยศาสตร์
  2. บุคลากรทางกายภาพบำบัดในทั้งสองคณะควรอยู่ในตำแหน่งอาจารย์เพื่อให้มี สถานภาพและศักยภาพที่จะก้าวหน้าในสายงานของตนเท่าเทียมกัน
  3. อาจารย์กายภาพบำบัดทั้งหมดไม่ว่าสังกัดอยู่ในคณะใดควรจะต้องปฏิบัติงานทั้งในด้านการเรียนการสอนและการให้บริการทางกายภาrบำบัดแต่ด้วยสัดส่วนที่แตกต่าง กันตามความเหมาะสมโดยขึ้นกับความสามารถและความจำเป็น
  4. งานด้านเวชศาสตร์ฟิ้นฟูควรมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนี้เป็นหัวหน้างานเวชศาสตร์ฟื้นฟู
ด้วยเหตุนี้อาจารย์กายภาพบำบัดทั้งที่สังกัดคณะแพทยศาสตร์และสังกัดเทคนิคการแพทย์ จึงต่างทำงานประสานงานกันเป็นหนึ่งเดียวเพื่อให้งานภาระรับผิดชอบทั้งด้านการผลิต บัณฑิตและการให้บริการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเต็มที่ตามศักยภาพที่มีอยู่ นับ ตั้งแต่ก่อตั้งภาควิชากายภาพบำบัดมาจนถึงปัจจุบัน

นโยบายในการดำเนินงานของภาควิชากายภาพบำบัดและการบริหารงานกายภาพบำบัด สอดคล้องกับนโยบายของคณะเทคนิคการแพทย์ โดยเน้นหนักในการระดมใช้ทรัพยากรทั้ง ทางด้านบุคลากร งบประมาณ เครื่องมือเครื่องใช้และเทคโนโลยีที่มีอยู่ให้เต็มศักยภาพ อย่างประหยัด มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่สุด ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรเหล่า นั้นให้มีขีดความสามารถประประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นลำดับอย่างต่อเนื่อง โดยอาศัยการ ประสานงานด้านความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกองค์กร เป็น กลวิธีสำคัญเพื่อให้ภาระรับผิดชอบของภาควิชาบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ร่วมกัน

หัวหน้าภาควิชากายภาพบำบัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 จนถึงปัจจุบันมีดังต่อไปนี้
  1. ผศ.เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต (6 ก.พ. 2526-9 ก.พ. 2530)
  2. อาจารย์ทรงศักดิ์ เจียมรัตนศิลป์ (10 ก.พ. 2530-28 พ.ย. 2531)
  3. อาจารย์โฉมณี พัฒนพีระเดช (29 พ.ย. 2531 - 14 เม.ย. 2535)
  4. อ.วิชัย อึงพินิจพงศ์ ( 15 เม.ย. 2535- 1 พ.ย. 2535)
  5. อ.สมชาย รัตนทองคำ (2 พ.ย. 2535 - 28 ก.พ. 2537)
  6. ผศ.เพ็ญพิมล ธัมมรัคคิต (1 มีค. 2537- 30 กย. 2537)
  7. ผศ. รุ้งทิพย์ พันธุเมธากุล ( 1 ตค. 2537-30 พย. 2540)
  8. อ. ทรงศักดิ์ เจียมรัตนศิลป์ (1 ธค. 2540-ปัจจุบัน)
แผนงานรวมและกิจกรรมของภาควิชากายภาพบำบัดที่สำคัญสรุปได้ดังนี้
  1. การพิจารณาหลักสูตรโดยคณะกรรมการร่างหลักสูตรได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 และได้สำเร็จเสร็จสิ้นเมื่อปี พ.ศ. 2525 โดยยึดตามแนวมาตรฐานของนักกายภาพบำบัด สากล และมีโครงการจะประเมินและปรับปรุงหลักสูตรใหม่ในปี พ.ศ. 2532
  2. การสรรหาบุคลากรทางกายภาพบำบัดเพื่อมาเป็นอาจารย์ ได้เริ่มตั้งแปี พ.ศ. 2524
  3. การหาทุนจากประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหราชอาณาจักรอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐเยอรมัน เพื่อให้อาจารย์เหล่านี้ได้ไปศึกษาต่อหรือฝึกอบรมดูงาน เพื่อเพิ่มพูนความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ในด้านการเรียนการสอนทางกายภาพบำบัด ซึ่งมีความจำเป็นมากต่อการผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดที่มีคุณภาพ ได้เริ่มมา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526
  4. การแลกเปลี่ยนบุคลากรทางกายภาพบำบัดกับประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยส่งอาจารย์ ไปศึกษาต่อหรือฝึกอบรมดูงานเพื่อให้ได้ประสบการณ์และทักษะในการสอน พร้อม
    กับขอผู้เชี่ยวชาญหรืออาสาสมัครจากต่างประเทศมาเพื่อฝึกอาจารย์กายภาพบำบัด อื่นๆ ในด้านการเรียนการสอนแลกเปลี่ยนประสบการณ์เสริมสร้างความรู้ ตลอดจน จัดการฝึกอบรมหลังปริญญา เริ่มมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526
  5. การของบประมาณด้านกำลังคนและเครื่องมือได้เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525
  6. เปิดรับนักศึกษากายภาพบำบัดรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2526
  7. อาจารย์กายภาพบำบัดให้การบริการด้านการส่งเสริม ป้องกัน ดูแลรักษา และฟื้นฟูผู้ ป่วยทางกายภาพบำบัดให้แก่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เริ่ม
    ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 ส่วนักศึกษากายภาพบำบัดได้ร่วมกับอาจารย์ในการให้บริการ ทางกายภาพบำบัดแก่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลใกล้เคียงและชุมชนใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528
นักศึกษากายภาพบำบัดรุ่นแรกสำเร็จเป็นบัณฑิตในปีการศึกษา 2529-2530

การสรรหาบุคลากรเนื่องจากในระยะเริ่มโครงการก่อตั้งภาควิชาฯ นั้น (พ.ศ. 2523) มี สถาบันผลิตบัณฑิตกายภาพบำบัดอยู่เพียงแห่งเดียว คือโรงเรียนกายภาพบำบัด คณะแพทย ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ซึ่งมีกำลังการผลิตขณะนั้นเพียงปีละประมาณ 30-35 คน การสรร หาบัณฑิตจบใหม่เพื่อมาเป็นอาจารย์ในส่วนภูมิภาคเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบากมาก อีก ทั้งการขอให้นักกายภาพบำบัดอาวุโสหรือมีประสบการณ์สูงโอนย้ายยิ่งเป็นเรื่องยากยิ่งขึ้น ไปอีกแต่ด้วยความมุ่งมั่น ด้วยกุศลจิตของ ผศ.นพ.พิสิฏฐ์ สัณฑ์พิทักษ์ คณบดีคณะเทคนิค การแพทย์และการร่วมมือประสายงานอย่างดียิ่งจาก ผศ.กานดา ใจภักดี โรงเรียนกายภาพ บำบัดศิริราช ทำให้สามารถชักจูงจิตใจนักกายภาพบำบัดจำนวนไม่น้อยให้เข้ามาร่วมใน การเตรียมการจัดตั้งภาควิชากายภาพบำบัดนี้ รวมไปถึงนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งใกล้จะสำเร็จ การศึกษาก็ให้ความสนใจที่จะมาทำงานบุกเบิกนี้มากขึ้นด้วย

ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งหลักสูตรเพื่ออนุมัติตามขั้นตอน ได้เกิดความผันผวนทางการ เมืองในสหราชอาณาจักรอังกฤษ ทำให้โครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่นและ มหาวิทยาลัยนอตติงแฮมต้องหยุดลง และมิสซิสอิเรน่าได้เดินทางติดตามสามีกลับไปใน เดือนฮันวาคม 2523 โดยยังไม่มีนักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์มารับงานต่อ แต่ด้วยความช่วยเหลืออนุเคราะห์เป็นอย่างดีของ ผศ.นพ.ชนินทร์ มหรรฆานุเคราะห์ หัว หน้าภาควิชาออร์โธปิดิกส์ฯ จึงสามารถบรรจุนางสาวปัทมา มีสบายในอัตรานักกายภาพ บำบัด 3 ซึ่งยืมจากภาควิชาออร์โธปิดิกส์ฯ ได้เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2524 งานบริการทาง กายภาพบำบัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์จึงดำเนินการต่อไปได้ รวมทั้งงานบริหารติดต่อ ประสานงานต่างๆ ทั่วไป

นอกจากนั้นคณะเทคนิคการแพทย์ยังได้แต่งตั้งอาจารย์ถนัด โกมลวรรธนะ (จากโรงเรียน กายภาพบำบัด ศิริราช) และอาจารย์ลาวัลย์ พานิชเจริญ (หัวหน้าหน่วยกายภาพบำบัด โรง พยาบาลขอนแก่น) เป็นอาจารย์พิเศษซึ่งมีขั้นแรกได้ช่วยเหลืองานในด้านพิจารณาราย ละเอียดหลักสูตร ช่วยชักชวนคัดเลือกและแนะนำนักกายภาพบำบัดให้มาเป็นอาจารย์ใน คณะ จัดตั้งเครื่องมืออุปกรณ์ในภาควิชาฯ และการวางแผนกำหนดครุภัณฑ์ที่ต้องการใช้ รวมทั้งให้คำปรึกษาในการออกแบบตึกเรียนรวม 4 คณะ ในส่วนที่เป็นงานทางกายภาพ บำบัด

จนกระทั่งได้อัตราใหม่ในตำแหน่งอาจารย์ 3 (วท.บ.กายภาพบำบัด) ในภาควิชาออร์โธปิ ดิกส์ฯ คณะแพทยศาสตร์ 1 ตำแหน่ง ได้บรรจุ นายวิชัย อึงพินิจพงศ์และในภาควิชาจุล ชีววิทยาคลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ 1 ตำแหน่ง ได้บรรจุนายสมชาย รัตนทองคำ ณ วันที่ 10 พฤษภาคม 2525 แล้วจึงมีการยืมตัวอาจารย์วิชัย อึงพินิจพงศ์ และ ผศ. เพ็ญพิมล ธัม มรัคคิตจากคณะแพทยศาสตร์มาเป็นอาจารย์พิเศษร่วมด้วย เมื่อมีอัตราอาจารย์ 3 ในภาค วิชากายภาพบำบัด ได้โอนย้ายอาจารย์สมชาย รัตนทองคำ (3 มีนาคม 2526), อาจารย์ปัท มา มีสบาย (24 มีนาคม 2526) และบรรจุนางสาวโฉมมณี พัฒนพีระเดช (4 เมษายน 2526) ในช่วงเวลาต่อมาในปีเดียวกันได้มีการบรรจุนางสาวน้อมจิตต์ นวลเนตร์ และนาง สาวนฤมล แสงอำยวน ในภาควิชาออร์โธปิดิกส์ฯ เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2526 จนกระทั่ง ภาควิชาฯ ได้อัตราอาจารย์อีก 2 อัตรา จึงมีการบรรจุนางสาวสุรัตน์ ธนานุภาพไพศาล (5 กรกฎาคม 2527) และได้โอนย้ายนางสาวน้อมจิตต์ นวลเนตร์ มาเป็นอาจารย์ในภาควิชาฯ (11 กรกฎาคม 2527)

อาจารย์กายภาพบำบัดได้กล่าวนามมานี้จัดว่าเป็นอาจารย์รุ่นบุกเบิกที่มีบทบาทสำคัญใน การบุกเบิกงานของภาควิชาฯ ทั้งด้านการเรียนการสอน การให้บริการ ควบคู่ไปกับการประชาสัมพันธ์งานกายภาพบำบัดให้เป็นที่รู้จัก และยอมรับในหมู่ บุคลากรทางการแพทย์และ สาธารณสุขต่างๆ ในศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพ ซึ่งการทำงานเหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยความ เป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ความเสียสละและการทุ่มเทกำลังกายกำลังใจ และกำลังปัญญาอย่างเต็มที่

ในระยะต่อมา การสรรหาบุคลากรได้จากการติดต่อทาบทามและคัดเลือกนักกายภาพบำบัด ที่มีประสบการณ์การทำงานมาแล้ว เพื่อดำเนินการโอนย้ายและบรรจุในตำแหน่งอาจารย์ ภาควิชาฯ คือ
  • นางสาวชุลี อุบลสัคคะ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (1 พฤษภาคม 2528)
  • นายทรงศักดิ์ เจียมรัตนศิลป์ (6 กันยายน 2528)
  • นางสาวรุ้งทิพย์ อมรสิริสมบูรณ์ จากโรงพยาบาลขอนแก่น (4 มกราคม 2543)
และเมื่อมีบัณฑิตรุ่นแรกสำเร็จการศึกษาแล้วจึงได้มีการพิจารณาคัดเลือกเข้ามาเป็นอาจารย์คือ
  • นางสาวพรรณี จิตกตัญญู (15 เมษายน 2530)
  • นางสาวสุนันทา ศศิพงษ์อนันต์ (3 สิงหาคม 2530)
  • นายอนุชา นิลประพันธ์ (17 ตุลาคม 2530)
นอกเหนือจากบุคลากรในตำแหน่งอาจารย์แล้ว ภาควิชาฯ ยังได้รับอนุมัติอัตราระดับเจ้า หน้าที่วิทยาศาตร์การแพทย์ 1 เพื่อบรรจุนายวศิน พรหมคลัง เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2528 อาจารย์และเจ้าหน้าที่ในภาควิชากายภาพบำบัด ในระยะที่สองนี้เปรียบเสมือนตัวจักรสำคัญ ที่ทำให้การดำเนินงานของภาควิชาฯ ยังคงเป็นไปได้อย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพใน
ขณะที่แผนการพัฒนาอาจารย์รุ่นแรกกำลังดำเนินอยู่ ภาระรับผิดชอบของอาจารย์และเจ้า หน้าที่ในระยะที่สองนี้เป็นที่แน่ชัด ว่ามีความสำคัญมิได้ยิ่งหย่อนไปกว่าอาจารย์รุ่นบุกเบิก นั้นเลย เพราะงานบริหาร, งานด้านการเรียนการสอนและงานให้บริการมีแต่จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ
 
สงวนลิขสิทธิ์โดย ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น