คำอธิบายรายวิชา
แผนการสอนที่ 1
แผนการสอนที่ 2
แผนการสอนที่ 5
แผนการสอนที่ 6
แผนการสอนที่ 7
แผนการสอนที่ 8
แผนการสอนที่ 9
แผนการสอนที่ 10
แผนการสอนที่ 11
แผนการสอนที่ 12
แผนการสอนที่ 13
แผนการสอนที่ 14
      
| จุดประสงค์ | เนื้อหา | กิจกรรมกรรม | การประเมิน | คำถามนำ | ใบงาน | เอกสาร |
แผนการสอน 3: ฟิสิกสและหลักการทำงานพื้นฐานของเครื่องไฟฟ้าฯ   (เวลา 2 คาบ)

1 ความคิดรวบยอด
       ความร้อน ความเย็น และแสง เป็นพลังงานรูปหนึ่ง ซึ่งมีคุณสมบัติทางฟิสิกส์แตกต่างกัน ทางกายภาพบำบัดได้นำเอาคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของพลังงานดังกล่าว เพื่อประยุกต์ใช้สำหรับให้การรักษาทางกายภาพบำบัดในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การใช้แผ่นประคบร้อน การใช้ whirlpool แช่ส่วนต่างๆของร่างกายในขี้ผึ้งพาราฟิน การใช้เครื่องอินฟราเรด เครื่องอัลตราไวโอเลต และเครื่องเลเซอร์สำหรับกายภาพบำบัด เป็นต้น

2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม

     เมื่อจบการเรียนการสอนนี้แล้ว นักศึกษาสามารถ
       1. อธิบายลักษณะธรรมชาติและคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของความร้อนและแสง
       2. อธิบายหลักการและวิธีการประยุกต์ใช้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของความร้อน และแสงเพื่อการบำบัดรักษาทางกายภาพบำบัด
      

3. เนื้อหา

     1. แสงมีคุณสมบัติเป็นทั้งคลื่นและอนุภาค ในธรรมชาติแหล่งกำเนิดแสงที่สำคัญคือ ดวงอาทิตย์ ซึ่งในแสงแดดประกอบด้วยรังสีสำคัญที่นำมาประยุกต์ใช้ทางกายภาพคือ รังสีอินฟราเรด และรังสีอัลตราไวโอเลต
     2. คุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่สำคัญของแสงคือ การหักเห การสะท้อน ซึ่งได้มีการประยุกต์คุณสมบัติของแสงดังกล่าวได้แก่ สายใยแก้วนำแสง โป๊ะไฟสำหรับให้แสงสะท้อนขนาน เป็นต้น
     3. ความเข้มของแสงขึ้นกับ กำลังส่องสว่างของแหล่งกำเนิด ระยะห่างจากแหล่งกำเนิด และระยะเวลาของการประยุกต์ใช้งาน
     4. ความร้อนเป็นพลังงานที่สามารถถ่ายเทได้มักถ่ายเทจากที่มีอุณหภูมิสูงกว่ามายังบริเวณที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
     5. คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของความร้อนที่สำคัญได้แก่ ความร้อนแฝง การระเหย การกลายเป็นไอ การกลั่นตัว การระเหิด
     6. การส่งผ่านพลังงานความร้อนแบ่งออกเป็น การนำ การพา และการแผ่รังสีความร้อน
     7. คุณสมบัติทางฟิสิกส์สามารถนำมาประยุกต์ใช้ทางกายภาพบำบัดได้อย่างหลากหลาย เช่น การใช้แผ่นประคบร้อน: การนำ, whirl pool, พาราฟิน: การพา, IR: การแผ่รังสี, การหายใจ, การระบายความร้อนทางเหงื่อ: การพาความร้อน เป็นต้น
      8. พลังงานสามารถเปลี่ยนรูปได้โดยเฉพาะพลังงานความร้อนสามารถเปลี่ยนจากพลังงานกล พลังงานเคมี พลังงานไฟฟ้า เป็นต้น
   

4. กิจกรรมการเรียนการสอน
    
    4.1 ขั้นนำ

          (แนะนำวิธีการเรียน การสอน และการประเมิน, แบ่งกลุ่มผู้เรียน)
   1. เริ่มต้นโดยผู้สอนทักทายนักเรียน นำเข้าสู่บทเรียน ถึงความรู้พื้นฐานด้านความร้อนและแสงรอบๆตัว
   2. จากนั้นเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับประสบการณ์ ที่เกี่ยวกับความร้อนและแสง และคุณสมบัติทางฟิสิกส์ที่ทราบ (เป็นการตรวจสอบความรู้พื้นฐาน)
   3. ทบทวนความรู้เดิมของผู้เรียนสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้ ในด้านความร้อนและแสง นอกจากนั้นยังได้แนะนำถึงภาพรวม การนำความรู้ทางฟิสิกส์ด้าน ความร้อน ไฟฟ้า แสง เสียง คลื่น และแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อการประยุกต์ใช้ทางกายภาพบำบัด ด้วย slide power point ประมาณ 15 นาที
   4. แจ้งวัตถุประสงค์ของการเรียนในวันนี้

   4.2 ขั้นสอน: เสนอปัญหา/เนื้อหา
    1. ผู้สอนได้ให้ผู้เรียนแยกออกเป็นกลุ่มตามที่ได้ตกลงกันไว้
    2. ผู้สอนแจกใบงานที่ 1 ซึ่งเป็นเนื้อหาที่จะเรียน ให้กับผู้เรียนทุกคน

    4.2.1 กิจกรรมไตร่ตรองรายบุคคล
     ผู้เรียนทำความเข้าใจกับใบงานที่ 1 และพยายามตอบคำถามในใบงานด้วยตนเอง โดยมิให้ปรึกษากัน
     ผู้สอนพยายามสังเกต และบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ กระตุ้นให้ผู้เรียนได้บันทึกในสิ่งที่ตนเองได้คิดอย่างเป็นระบบ โดยกำหนดเวลา และให้เวลาอย่างเพียงพอเป็นเวลา 20 นาที เพื่อให้ผู้เรียนได้ใช้ความคิดของตนเองอย่างเต็มที่
ี่
    4.2.2 กิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย
     หลังจากที่ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้กระบวนการคิดของตนเองแล้ว ให้ผู้เรียนได้รวมกลุ่มย่อยกับเพื่อนที่ได้แบ่งกันไว้แล้ว เพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆสมาชิกในกลุ่มในประเด็นปัญหาที่ได้รับมอบหมาย ได้มีโอกาสเปรียบเทียบในสิ่งที่ตนเองคิดกับผู้อื่น โดยการนำเสนอเนื้อหาของตนเองที่ได้บันทึกไว้กับเพื่อนในกลุ่มซึ่งขณะที่นั่งฟังเพื่อนนำเสนอ ร่วมกันอภิปรายและช่วยกันสรุปแนวคิดเพื่อนำเสนอในกลุ่มใหญ่ต่อไป

   4.2.3 การเสนอผลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อกลุ่มใหญ่
    ผู้สอนสุ่มกลุ่มผู้เรียน ให้ส่งตัวแทนของกลุ่มเพื่อนำเสนอแนวคิดต่อประเด็นที่ให้ตามใบงานของกลุ่มต่อกลุ่มใหญ่ ผู้เรียนและผู้สอนร่วมกันอภิปราย แสดงเหตุผลและความคิดเห็นของตน ของกลุ่มย่อย ต่อกลุ่มใหญ่รวมเป็นความคิดเห็นของชั้น

   4.3 ขั้นสรุป
         ผู้สอนร่วมกับผู้เรียนร่วมกันสรุปแนวคิด หลักการ หรือความคิดรวบยอดของทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสรุปเนื้อหาตามหลักสูตร
         เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามประเด็นที่สงสัยทั้งหมด โดยเฉพาะในจุดที่ยังไม่เข้าใจ โดยผู้สอนจะอธิบายเพิ่มเติมจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจทั้งหมดอย่างชัดเจน

5. การประเมินผล
   เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้วผู้สอนจะประเมินผลการเรียนการสอนดังต่อไปนี้
   1. ประเมินความรู้ความเข้าใจตามเนื้อหาในบทเรียน โดยการสอบย่อยท้ายในแต่ละเรื่อง โดยที่ทุกคนจะต้องทำข้อสอบอย่างเต็มความสามารถ โดยไม่ช่วยเหลือกันพยายามทำข้อสอบให้ดีที่สุด เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าของตนเองและเพื่อให้กลุ่มประสบผลสำเร็จในที่สุด
   2. ประเมินความรู้ความเข้าใจในบทเรียนโดยใช้ผลงานผู้เรียนเป็นหลัก แบ่งออกเป็น
       1) ผลงานรายบุคคล เป็นผลงานที่ผู้เรียนแต่ละคนปฏิบัติขณะร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน
       2) ผลงานของกลุ่ม เป็นผลงานที่ผู้เรียนปฏิบัติร่วมกันเป็นกลุ่มในระหว่างที่ร่วมกิจกรรม
   3. การสะท้อนผลการทำงานของกลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มประเมินการทำงานของตนเอง แล้วเสนอผลการประเมิน และสิ่งที่ต้องการปรับปรุงต่อไป
   4. ประเมินกิจกรรมและกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยคณาจารย์ผู้ร่วมสอน โดยการสังเกตการทำกิจกรรมของผู้เรียนด้วยแบบประเมินพฤติกรรม และสุ่มสัมภาษณ์ผู้เรียนโดยแบบสัมภาษณ์


แนวคำถาม


      1. ท่านสามารถอธิบายฟิสิกส์ของความร้อนและแสงได้หรือไม่
      2. ทางกายภาพบำบัดนำผลความร้อนและแสงมารักษาได้อย่างไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างอธิบาย
      3. พลังงานความร้อนและแสงสามารถเปลี่ยนรูปได้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่อย่างไร


ใบงานที่ 1
-------------------------------------------------------------

  คำชี้แจง
         1. หลังจากนักศึกษาได้รับใบงานซึ่งเป็นคำถามแจกให้อ่าน ให้พิจารณาเนื้อหาและประเด็นคำถามด้วยตนเอง ไม่ปรึกษาหารือผู้อื่นใช้เวลาประมาณ 20 นาที
         2. ให้รวมกลุ่มย่อยและปรึกษาหารือ แลกเปลี่ยนเนื้อหาและความคิดเห็นกับเพื่อนๆในกลุ่ม เป็นเวลา 20 นาทีโดยนักศึกษาจะต้องเป็นผู้พิจารณาด้วยตนเองไม่ปรึกษาหารือผู้อื่นใช้เวลาประมาณ 15นาที
        3. ส่งตัวแทนตามที่กำหนด นำเสนอกลุ่มใหญ่ ใช้เวลากลุ่มละ 5 นาที

----------------------------------------------------

          ท่านสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางฟิสิกส์เพื่ออธิบายและประยุกต์ใช้สำหรับวิชาชีพกายภาพบำบัดได้อย่างไร ยกอธิบาย และยกตัวอย่าง


ความร้อน

ความรู้ทางฟิสิกส์
การประยุกต์ใช้ทางกายภาพบำบัด
1. ธรรมชาติของความร้อน
   1.1 ทำให้เกิดการขยายตัว
   1.2 ทำให้เพิ่มอุณหภูมิ
   1.3 เพิ่มพลังงานภายในในกับสสาร
   1.4 ความร้อนแฝง
   1.5 ทำให้สสารเกิดการเปลี่ยนสถานะ
   1.6 การระเหย
   1.7 การระเหิด
 
2. อุณหภูมิและหน่วยวัด  
3. ปริมาณความร้อนและหน่วยวัด  
4. ฉนวนและตัวนำความร้อน  
5. การส่งผ่านความร้อน
   5.1 การนำความร้อน
   5.2 การพาความร้อน
   5.3 การแผ่รังสีความร้อน
 
6. ความร้อนและการเปลี่ยนรูปของพลังงาน  

แสง

ความรู้ทางฟิสิกส์
การประยุกต์ใช้ทางกายภาพบำบัด
1.ธรรมชาติของแสง
   1.1 แสงเป็นอนุภาค
   1.2 แสงเป็นคลื่น
 
2. คุณสมบัติของแสง
   2.1 การหักเหของแสง
   2.2 การสะท้อนของแสง
   2.3 ปัจจัยด้านการส่องสวางและความเข้ม
 
3. ความเข้ม/พลังงานของแสงขึ้นกับ
   3.1 กำลัง/พ.ท.หน้าตัดของแหล่งกำเนิด
   3.2 ระยะทางจากแหล่งกำเนิด
   3.3 เวลาในการประยุกต์ใช้
 

 

 

 
 
ภาควิชากายภาพบำบัด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น: จ.ขอนแก่น 40002
Copyright @ 2003 , All right reserved | Comments & Suggestions : somch_ra@kku.ac.th |