1
ความคิดรวบยอด
เลเซอร์ที่ใช้ทางกายภาพบำบัดเป็นเลเซอร์กำลังต่ำที่ให้พลังงานต่ำกว่า
500 มิลลิวัตต์ โดยทั่วไปมักใช้ประมาณ 50 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร
มักเรียกเลเซอร์ชนิดนี้ว่า เลเซอร์ชนิดเย็น หรือเลเซอร์ชนิดอ่อน ผลการรักษาทางกายภาพบำบัดไม่ใช่ผลของความร้อนจากลำแสง
การใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัดปัจจุบันเพื่อการระงับปวด และการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
การใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัดเป็นการประยุกต์ภายนอกร่างกายผ่านผิวหนัง
โดยไม่ได้หวังผลในด้านความร้อนของเลเซอร์ ผลการรักษาเพื่อกระตุ้นหรือเร่งกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
และการระงับความรู้สึกเจ็บปวด เทคนิคการใช้แสงเลเซอร์สามารถแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น
2 ลักษณะคือ เทคนิคไม่สัมผัสและเทคนิคสัมผัสกับผิวหนังบริเวณที่รักษา
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เมื่อจบการเรียนการสอนนี้แล้ว นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายความแตกต่างของเลเซอร์ที่ใช้ทางกายภาพบำบัดและทางการแพทย์อื่นๆได้
2. อธิบายผลทางสรีรวิทยาที่เกิดจากเลเซอร์ทางการแพทย์ได้
3. แสดงเทคนิคการใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัด
4. อธิบายและแสงวิธีการคำนวณโดสและเวลาที่ใช้เลเซอร์ทางกายภาพบัด
5. อธิบายข้อบ่งชี้ ข้อห้ามใช้
และข้อควรระวังของการใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัด
3. เนื้อหา
1. เลเซอร์ที่ใช้ทางการแพทย์สามารถแบ่งไดเป็น
2 ชนิดคือ เลเซอร์กำลังสูงที่มักใช้ทำผ่าตัด ได้แก่ CO2, Ruby, Argon,
Krypton, Nd:YAG และเลเซอร์กำลังต่ำที่ใช้ทางกายภาพบำบัด ได้แก่ HeNe,
GaAlAs, GaAs เป็นต้น
2. เลเซอร์กำลังสูง มักให้ผลด้านความร้อน
ทำให้เนื้อเยื่อมีอุณหภูมิสูงขึ้น ทำลายเนื้อเยื่อ ทำให้เนื้อเยื่อขาดน้ำ
โปรตีนรวมเป็นก้อน แยกสลายเซลล์ เกิดการระเหิด แพทย์มักใช้แทนมีดในการทำผ่าตัด
3. เลเซอร์กำลังต่ำ มักไม่ให้ผลด้านความร้อน
เชื่อว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นผลทางชีววิทยารอบๆเซลล์เร่งการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
นิยมใช้กระตุ้นการซ่อมแซมของแผลเรื้อรัง และการระงับอาการปวดเฉพาะที่
4. เครื่องเลเซอร์ที่ใช้รักษาทางกายภาพบำบัดแบ่งตามลักษณะการปล่อยรังสีได้
2 ชนิด คือ ชนิดที่ปล่อยออกอย่างต่อเนื่อง และชนิดที่ปล่อยออกเป็นช่วงๆ
5. ข้อบ่งชี้สำหรับการใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัดได้แก่
การระงับอาการปวดและการอักเสบของข้อและเนื้อเยื่อทั้งชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
กระตุ้นให้เกิดการซ่อมแซมของเนื้อเยื่อในแผลเรื้อรัง
6. ข้อควรระวังสำหรับการใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัดได้แก่
1)การส่องแสงเข้านัยน์ตาโดยตรงอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บต่อดวงตาดังนั้นจึงควรสวมแว่นตาที่เหมาะสม
2)ไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่ได้รับการ
radiotherapy
3)ไม่ควรใช้บริเวณต่างๆดังนี้:
บริเวณที่มีเลือดออกมาก บริเวณที่ไวต่อรังสี และ
4)ไม่ควรฉายไปที่บริเวณที่เป็นต่อมไร้ท่อของร่างกาย
7. ข้อห้ามใช้รังสีเลเซอร์ในกรณีต่อไปนี้
ผู้ป่วยที่เป็นลมชัก ผู้ป่วยโรคหัวใจ ผู้ที่มีไข้สูง มะเร็ง ห้ามฉายบริเวณห้องหรือท้องในสตรีที่มีครรภ์และระยะมีระดู
ห้ามฉายบริเวณอัณฑะ บริเวณ epiphyses ของเด็ก บริเวณที่สูญเสียความรู้สึกรับรู้
บริเวณที่มีการติดเชื้อ บริเวณ sympathetic ganglian, vagus nerve,
cardiac region เป็นต้น
8. การประยุกต์ใช้รังสีเลเซอร์สำหรับการรักษาทางกายภาพบำบัดควรคำนึงถึง
โดส หรือพลังงานที่ใช้สำหรับการรักษา ขึ้นกับระยะเวลาสำหรับปล่อยแสงเพื่อการรักษา
ซึ่งช่วงเวลาสำหรับให้การรักษาคำนวณได้จาก พลังงานหรือกลังส่งออกของรังสีมักกำหนดมาจากโรงงาน
ขนาดพื้นที่หน้าตัดของลำแสง ขนาดพื้นที่ที่รักษา ระยะห่างระหว่างแหล่งกำเนิดแสงและพื้นที่ที่รักษา
(กรณีที่ใช้แบบไม่สัมผัส) และลักษณะการปล่อยรังสี เป็นต้น
9. เทคนิคการใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัดแบ่งตามลักษณะการใช้งานได้เป็น
2 ลักษณะ คือ เทคนิคไม่สัมผัส และเทคนิคสัมผัสกับผิวหนังบริเวณที่รักษา
10. เทคนิคแบบไม่สัมผัสกับผิวหนัง เป็นเทคนิคที่ประยุกต์ใช้หัว
probe ที่เป็นแหล่งกำเนิดเลเซอร์ฉายลงบนผิวหนัง โดยไม่มีการสัมผัสกับผิวหนัง
มักนิยมใช้กับพื้นที่ที่รักษาเป็นบริเวณกว้างและไม่จำเพาะ หรือพื้นที่ที่ไม่สามารถใช้เทคนิคแบบสัมผัสได้
เช่น บริเวณที่เป็นแผลเปิด บริเวณที่เป็นช่องหรือเป็นโพรง เป็นต้น
เทคนิคแบบไม่สัมผัสกับผิวหนังสามารถแบ่งได้เป็น เทคนิคกริด และเทคนิคสแกน
11. เทคนิคแบบสัมผัสกับผิวหนัง
มักเป็นเทคนิคที่ใช้เลเซอร์กระตุ้นเป็นจุดๆ มักใช้กับพื้นที่เล็กๆ
หรือพื้นที่ที่ต้องการความจำเพาะมากกว่าเป็นบริเวณกว้างๆ ดังนั้นจึงมักนิยมใช้เทคนิคนี้เพื่อการระงับความรู้สึกเจ็บปวดบริเวณที่จุดกดเจ็บ
หรือบริเวณจุดฝังเข็ม
12. โดสของการรักษาด้วยเลเซอร์ขึ้นกับขนาดพื้นที่หน้าตัดของแสง
กำลังส่งออกของเครื่อง พื้นที่ที่รักษา เพื่อนำมาคำนวณหาระยะเวลาของการรักษา
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
4.1 ขั้นนำ
ผู้สอนทบทวนเรื่องแสงเลเซอร์
และการนำแสงเลเซอร์มาใช้ประโยชน์ ตามที่เคยเรียนในชั่วโมงที่แล้ว
4.2 ขั้นสอน: เสนอปัญหา/เนื้อหา
1. ผู้สอนได้บรรยายถึงเทคนิคใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัดและผลการรักษาด้วยเลเซอร์ทางกายภาพบำบัด
ข้อบ่งชี้ ข้อควรระวัง ใช้เวลาประมาณ 40 นาที
2. จากนั้นผู้สอนสาธิตการใช้เครื่องเลเซอร์ทางกายภาพบำบัด
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามสิ่งที่ผู้เรียนเห็น
4. ผู้สอนได้ตอบประเด็นที่ผู้เรียนสงสัย
และแจกใบงานเพื่อให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมการเรียนการสอน
4.2.1 ขั้นพัฒนาทักษะ
ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติในการใช้เครื่องเลเซอร์ชนิดต่างๆ
ตามเทคนิคที่ได้สาธิต โดยให้ผู้เรียนเป็นหุ่นในการฝึก
4.2.2 กิจกรรมไตร่ตรองรายบุคคล
ผู้สอนแจกใบงาน
ซึ่งเป็นประเด็นคำถามเพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านและตอบคำถาม
ผู้เรียนทำความเข้าใจกับกรณีปัญหาและประเด็นคำถามในใบงานที่ให้โดยการคิดพิจารณาด้วยตนเองอย่างอิสระตามลำพัง
ห้ามมิให้ปรึกษาหารือกัน ผู้เรียนสามารถค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากเอกสารประกอบการสอนหรือหนังสือในห้องสมุดเพิ่มเติมได้
โดยผู้สอนพยายามกระตุ้นเร่งเร้าให้ผู้เรียนอ่านและตอบประเด็นปัญหาในใบงาน
อย่างไตร่ตรอง และพยายามสรุปประเด็นเนื้อหาและหาคำตอบในกระดาษเขียนตอบภายในเวลาที่กำหนด
ี่
4.2.2 กิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย
หลังจากที่ผู้เรียนได้มีโอกาสใช้กระบวนการคิดของตนเองและเขียนคำตอบเรียบร้อยแล้ว
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รวมกลุ่มย่อยกับเพื่อนที่ได้แบ่งกันไว้แล้ว
เพื่อให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นของตนเองกับเพื่อนๆสมาชิกในกลุ่ม
ได้มีโอกาสเปรียบเทียบในสิ่งที่ตนเองคิดกับผู้อื่น โดยการนำเสนอเนื้อหาของตนเองที่ได้บันทึกไว้กับเพื่อนในกลุ่มซึ่งขณะที่นั่งฟังเพื่อนนำเสนอ
ร่วมกันอภิปรายและช่วยกันสรุปแนวคิดดังกล่าวนั้นให้เป็นแนวคิดของกลุ่ม
ในรูปแผนภูมิมโนมติ (concept map) หรือตารางเพื่อนำเสนอในกลุ่มใหญ่ต่อไป
4.2.3 การเสนอผลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นต่อกลุ่มใหญ่
ผู้สอนสุ่มกลุ่มผู้เรียนให้ส่งตัวแทนของกลุ่มเพื่อนำเสนอแนวคิดต่อประเด็นที่ให้ตามใบงานของกลุ่มต่อกลุ่มใหญ่
โดยผู้สอนเร่งเร้าการมีส่วนร่วมของกลุ่ม ร่วมกันอภิปราย แสดงเหตุผลและความคิดเห็นของตน
ของกลุ่มย่อย ต่อกลุ่มใหญ่รวมเป็นความคิดเห็นของชั้น
4.3 ขั้นสรุป
ผู้สอนร่วมกับผู้เรียนร่วมกันสรุปแนวคิด
หลักการ หรือความคิดรวบยอดของทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และสรุปเนื้อหาตามหลักสูตร
เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถามประเด็นที่สงสัยทั้งหมด
โดยเฉพาะในจุดที่ยังไม่เข้าใจ โดยผู้สอนจะอธิบายเพิ่มเติมจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจทั้งหมดอย่างชัดเจน
4.3 ขั้นพัฒนาการนำไปใช้
1. ผู้สอนได้แจกใบงานซึ่งเป็นตัวอย่างกรณีปัญหาผู้ป่วย
เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมกันวางแผนให้การรักษาเป็นลำดับดังต่อไปนี้
ด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษากัน
1.1
ศึกษาและวิเคราะห์กรณีปัญหาผู้ป่วย
1.2
การเลือกใช้เครื่องเลเซอร์เพื่อการรักษา
1.3
การคำนวณโดส และช่วงเวลาสำหรับการรักษาในผู้ป่วย
1.4
แสดงวิธีการประยุกต์ใช้เพื่อการรักษาในผู้ป่วย
5. การประเมินผล
เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้วผู้สอนจะประเมินผลการเรียนการสอนดังต่อไปนี้
1. สุ่มผู้เรียน เพื่อให้ออกมาสาธิตเทคนิคที่ได้ฝึก
โดยมีผู้เรียนร่วมกันสังเกตการณ์และแนะนำการปฏิบัติ
2. ผู้สอนร่วมกันแนะนำและชี้แนะจุดที่ควรระวัง และเพิ่มเติมประเด็นที่ยังขาด
แนวคำถาม
1. หากท่านจำเป็นต้องใช้เลเซอร์เพื่อบำบัดความเจ็บปวดบริเวณข้อเท้าให้กับผู้ป่วยรายหนึ่ง
ท่านจะมีลำดับขั้นตอนการรักษาอย่างไร
2. ท่านจะให้ความระมัดระวังในการดูแลรักษาด้วยเครื่องเลเซอร์ทางกายภาพบำบัดอย่างไร
ใบงาน
Laser
-------------------------------------------------------------
คำชี้แจง
1.
หลังจากผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติการ รื่อง เครื่องเลเซอร์ทางกายภาพบำบัดมาแล้ว
ให้พิจารณาประเด็นปัญหาที่ให้ ต่อไปนี้ โดยผู้เรียนจะต้องเป็นผู้พิจารณาด้วยตนเอง
ไม่ปรึกษาหารือผู้อื่น ใช้เวลา ประมาณ 20 นาที
2. จากนั้นให้ผู้เรียนรวมกลุ่มย่อย
และปรึกษาหารือกัน แลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน กับเพื่อนๆในกลุ่ม
เป็นเวลาประมาณ 20 นาที
3. ส่งตัวแทนนำเสนอข้อสรุปที่ได้ในกลุ่ม
ใช้เวลากลุ่มละ 5 นาทีี
----------------------------------------------------
ประเด็นปัญหาที่ให้พิจารณา
1) ท่านสามารถเปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างระหว่างเลเซอร์ที่ใช้ทางกายภาพบำบัด
และใช้ทางการแพทย์ได้ทั้งหมดกี่ข้อ และแต่ละข้อท่านยึดหลัก/ประเด็นอะไร
จงแสดงต่างเปรียบเทียบพร้อมทั้งอธิบายเหตุผล
2) ท่านสามารถอธิบายผลทางสรีรวิทยา
ผลการรักษา ข้อบ่งชี้ ข้อควรระวัง ของการใช้เลเซอร์ทางกายภาพบำบัดได้หรือไม่
3) หากจำเป็นต้องให้การรักษาแผลเรื้อรังในผู้ป่วยรายหนึ่ง
ท่านจะมีวิธีการรักษาอย่างไร
|