วิชา 461 211 โลหิตวิทยาพื้นฐาน |
|
การสร้าง การเจริญเติบโต รูปร่าง ลักษณะ หน้าที่ รวมทั้งกลไกในการทำลายของเซลล์เม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือด และระบบเซลล์ที่ทำหน้าที่ในการจับกินสิ่งแปลกปลอม |
วิชา 461 212 ปฏิบัติการโลหิตวิทยาพื้นฐาน |
|
การเตรียมสารกันเลือดแข็ง สีไรท์ สเมียร์เลือด การย้อมสี การเจาะเลือดจากหลอดเลือดดำ ปลายนิ้ว การนับจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือด การตรวจฮีโมโกลบิน ฮีมาโตคริต และดัชนีเม็ดเลือดแดง การนับแยกชนิดเซลล์เม็ดเลือดขาว รูปร่าง ลักษณะเซลล์เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดในระยะต่าง ๆ
|
วิชา 461 313 โลหิตวิทยาคลินิก 1 |
|
ความผิดปกติของเม็ดเลือดแดงในด้านปริมาณและคุณภาพ ลักษณะรูปร่าง การสร้าง หน้าที่ และการทำงาน เช่น ภาวะเลือดจางเนื่องจากขาดธาตุเหล็ก ภาวะฮีโมโกลบินผิดปกติ ภาวะเลือดจางเนื่องจากมีการทำลายเม็ดเลือดแดงมากผิดปกติ ภาวะเลือดข้น ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาวทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ ลักษณะรูปร่าง การสร้าง หน้าที่ และการทำงาน เช่น ภาวะที่มีเม็ดเลือดขาวมากหรือน้อยผิดปกติ มะเร็งเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
|
วิชา 461 314 ปฏิบัติการโลหิตวิทยาคลินิก 1 |
|
ปฏิบัติการเกี่ยวกับความผิดปกติของเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาว การตรวจทางห้องปฏิบัติ การเพื่อช่วยในการวินิจฉัยความผิดปกติที่สำคัญในภาวะต่าง ๆ ทางคลินิก
|
วิชา 461 315 โลหิตวิทยาคลินิก 2 |
|
เทคนิคขั้นสูงที่ใช้ในการศึกษาทางโลหิตวิทยา หัวข้อปัจจุบันในเรื่องเกี่ยวกับเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว รวมทั้งกระบวนการห้ามเลือดและภาวะหลอดเลือดมีลิ่มเลือด
|
วิชา 461 322 การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะและสารน้ำในร่างกาย |
|
กระบวนการสร้างส่วนประกอบของปัสสาวะและสารน้ำในร่างกายทั้งในภาวะปกติและภาวะที่เกิดโรค การตรวจวิเคราะห์และการทดสอบหาสารต่าง ๆ เพื่อการวินิจฉัยโรคทางคลินิก รวมทั้งการควบคุมคุณภาพของการตรวจ
|
วิชา 461 323 ปฏิบัติการการตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะและสารน้ำในร่างกาย |
|
ตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะโดยวิธีทางกายภาพ เคมี และกล้องจุลทรรศน์ การควบคุมคุณภาพการตรวจปัสสาวะ ความสำคัญและการแปลผลการตรวจ และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างผลการตรวจทางกายภาพ เคมี และกล้องจุลทรรศน์ เครื่องตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะอัตโนมัติ การนับจำนวนเซลล์และการเตรียมสเมียร์จากสารน้ำในร่างกาย ชนิดและลักษณะของเซลล์ปกติ และเซลล์ที่ผิดปกติที่พบได้ในสารน้ำในร่างกาย
|
วิชา 461 331 การห้ามเลือดและหลอดเลือดมีลิ่มเลือด |
|
กระบวนการห้ามเลือด กระบวนการแข็งตัวของเลือด และละลายลิ่มเลือด ตัวยับยั้ง ความผิดปกติในกระบวนการห้ามเลือด รวมถึงความผิดปกติของหลอดเลือด เกล็ดเลือด ปัจจัยการแข็งตัวของเลือด และความผิดปกติในภาวะอื่น ๆ เช่น ภาวะที่หลอดเลือดมีลิ่มเลือด เป็นต้น
|
วิชา 461 332 ปฏิบัติการการห้ามเลือดและหลอดเลือดมีลิ่มเลือด |
|
ฝึกปฏิบัติการในการทดสอบกระบวนการห้ามเลือด การทดสอบการทำหน้าที่ของเกล็ดเลือด การควบคุมคุณภาพการทดสอบ การแปล และวิเคราะห์ผลการทดสอบ กรณีศึกษา
|
วิชา 461 451 ฝึกปฏิบัติการทางจุลทรรศน์คลินิก |
|
ฝึกปฏิบัติการในห้องปฏิบัติการจำลอง ตั้งแต่การจัดระบบ บริหารจัดการ และการตรวจทั้งที่เป็นการทดสอบประจำวันและการทดสอบพิเศษ และการควบคุมคุณภาพ
|