คำชี้แจงการขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร 


คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์/อนุสิทธิบัตร ประกอบด้วย
        ก. แบบพิมพ์คำขอ และเอกสารประกอบ
        ข. รายละเอียดการประดิษฐ์
        ค. ข้อถือสิทธิ
        ง. รูปเขียน (ถ้ามี) 
        จ. บทสรุปการประดิษฐ์
ก. แบบพิมพ์คำขอ และเอกสารประกอบ
        แบบพิมพ์คำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ผู้ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรต้องใช้แบบพิมพ์
ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนดและจะพิมพ์ขึ้น ซึ่งได้แก่แบบ  สป/สผ/001-ก 
        ส่วนเอกสารประกอบคำขอมีอยู่สองลักษณะ คือ
        1.1 เอกสารหลักฐานแสดงสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร มีลักษณะต่างๆ ดังนี้ 
                ในกรณีผู้ขอเป็นผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ให้ยื่นคำรับรองเกี่ยวกับสิทธิ
ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร โดยใช้แบบ  สป/สผ/001-ก (พ)  แต่ถ้าผู้ขอซึ่งเป็นผู้ประดิษฐ์
เป็นคนต่างด้าวและอ่านภาษาไทยไม่เข้าใจให้ใช้  Form PI/PD/001-A (Add)  ซึ่งเป็นแบบพิมพ
์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนดและจัดพิมพ์ขึ้น ผู้ขอจะต้องยื่นแบบพิมพ์ดังกล่าวพร้อมกับการ
ยื่นขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร แต่ถ้าไม่สามารถยื่นพร้อมกับคำขอได้ ก็อาจขอผ่อนผันได้ 2 ครั้ง 
คือ ครั้งแรกขอผ่อนผันได้เป็นเวลา 90 วัน และครั้งที่สองขอผ่อนผันได้อีก 30 วัน โดยต้องยื่นขอ
ผ่อนผันก่อนสิ้นกำหนดระยะเวลา 
                ในกรณีที่ผู้ขอมิใช่ผู้ประดิษฐ์แต่เป็นผู้มีสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ในฐานะอื่น 
เช่นเป็น นายจ้างหรือผู้ว่าจ้างของผู้ประดิษฐ์ เป็นทายาทหรือผู้จัดการมรดกของผู้ประดิษฐ์ หรือ 
เป็นผู้รับโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จะต้องยื่นเอกสารหลักฐานแสดงว่าเป็นผู้มีสิทธิ
ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ในฐานะดังกล่าวด้วย ทั้งนี้เอกสารหลักฐานดังกล่าวจะต้องถูกต้อง
ตามแบบที่กฎหมายกำหนดด้วย เช่น ผู้ขอที่เป็นผู้รับโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร 
จะต้องยื่นหนังสือโอนสิทธิขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ที่ลงลายมือชื่อทั้งผู้โอนและผู้รับโอนด้วย 
เป็นต้น
        1.2 เอกสารหลักฐานการมอบอำนาจให้ตัวแทนกระทำการแทน 
                ผู้ขอจะต้องมอบอำนาจให้ตัวแทนซึ่งได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมทรัพย์สินทางปัญญา 
เพื่อดำเนินการ ขอรับสิทธิบัตรแทนโดยทำเป็นหนังสือมอบอำนาจซึ่งมีได้ 2 กรณี คือ
                1. ผู้ขอเป็นผู้ที่ไม่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย ในกรณีดังกล่าวหนังสือมอบอำนาจ
จะต้องมีคำรับรอง ของทูต ที่ปรึกษาการพาณิชย ข้าหลวงพาณิชย์ ผู้ช่วยทูตการพาณิชย์ 
หรือกงสุลไทย ซึ่งประจำอยู่ในประเทศนั้น หรือมีคำรับรองของบุคคลซึ่งกฎหมายของ
ประเทศที่ผู้มอบอำนาจมีถิ่นที่อยู่ ซึ่งโดยทั่วไปได้แก่ โนตารีพับลิค (Notary-Public)
ถ้าหนังสือมอบอำนาจหรือคำรับรองดังกล่าวจัดทำขึ้นเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ผู้ยื่นจัด
ให้มีคำแปลเป็นภาษาไทย โดยมีคำรับรองของผู้แปลและผู้รับมอบอำนาจว่า 
เป็นคำแปลภาษาไทยที่ ถูกต้องตรงกับหนังสือมอบอำนาจหรือคำรับรองนั้น 
และยื่นคำแปลดังกล่าวพร้อมกับหนังสือมอบอำนาจ หรือคำรับรองด้วย 
                2. ผู้ขอเป็นผู้ที่มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทยแต่ประสงค์จะมอบอำนาจให้บุคคลอื่น
กระทำการแทน (คือไม่ประสงค์จะดำเนินการด้วยตนเอง) 
ก. รายละเอียดการประดิษฐ์
        รายละเอียดการประดิษฐ์เป็นส่วนที่ผู้ขอจะต้องจัดทำขึ้นเองโดยจะต้องมีลักษณะ
ดังที่กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ โดยจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง 
(พ.ศ 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติสิทธิบัตรด้วย กฎกระทรวงดังกล่าวกำหนดว่า 
รายละเอียดต้องระบุหัวข้อเรื่องตามลำดับ  ดังต่อไปนี้
        ชื่อที่แสดงถึงการประดิษฐ์ จะต้องระบุว่าการประดิษฐ์นั้นคืออะไร โดยระบุถึงลักษณะ
สำคัญของการประดิษฐ์นั้นด้วย เช่น พัดลมไฟฟ้า กรรมวิธีหล่อผนังคอนกรีต เตาอบไฟฟ้า 
แบบจ่ายความร้อน เป็นต้น จะต้องไม่ใช้ชื่อที่ตั้งขึ้นเองหรือเครื่องหมายการค้า 
เช่น หม้อหุงข้าวสุกัลยา ครีมบำรุงผิวนวลจันทร์ และจะต้องไม่ใช้ชื่อที่เป็นการอวดอ้างสรรพคุณ 
เช่น เตาแก๊สมหัศจรรย์ ยาแก้ปวดสารพัดโรค หรือปากกาวิเศษ เป็นต้น
         สาขาวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์ จะต้องระบุว่าการประดิษฐ์ที่ขอรับ
สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จัดอยู่ในสาขาวิทยาการหรือเทคโนโลยีด้านใด เช่น วิศวกรรมเครื่องกล 
วิศวกรรมไฟฟ้า เคมี ฟิสิกส์ เป็นต้น
        ภูมิหลังของศิลปะหรือวิทยาการที่เกี่ยวข้อง จะต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์ที่มีอย
ู่ก่อนแล้ว พร้อมทั้งข้อบกพร่องต่างๆ หรือปัญหาของการประดิษฐ์ดังกล่าว ทั้งนี้เพื่อที่จะแสดง
ให้เห็นว่าการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนั้นแตกต่างกับการประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนแล้วอย่างไร
และเพียงใด
 ตัวอย่างเช่น การขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร สำหรับ "อุปกรณ์และวิธีการวัดความ
ยาวของวัตถุ โดยความยาวคลื่นแสงเลเซอร์" ดังกล่าวข้างต้น ในหัวข้อนี้จะระบุว่า 
"ก่อนที่จะคิดประดิษฐ์การประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตรนี้ การวัดความยาวจะทำโดยเทียบกับ
ความยาวมาตรฐาน 1 เมตร ที่ทำจากโลหะผสมระหว่างนิกอนกับโครเมี่ยมหรือที่เรียกกันว่า 
"นิโครม" ความยาวดังกล่าวอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ เนื่องจากสัมประสิทธิ์การขยายตัว
ของโลหะเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งเป็นเหตุให้ความยาวมาตรฐานดังกล่าวนั้น
ไม่คงที่ " ในกรณีที่เป็นการประดิษฐ์ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนเลย ผู้ขออาจจะระบุถึงปัญหาใน
ทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระตุ้นให้เกิดแนวคิดดังกล่าว
                ลักษณะและความมุ่งหมายของการประดิษฐ์ จะต้องระบุถึงลักษณะที่สำคัญ
} ของการประดิษฐ์โดยย่อ รวมทั้งวัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์ดังกล่าว ตัวอย่าง
เช่น การขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร สำหรับ "อุปกรณ์และวิธีวัดความยาวของวัตถุโดย
ความยาวคลื่นแสงเลเซอร์" ผู้จะขอระบุว่า"ลักษณะของอุปกรณ์อันเป็นการประดิษฐ์นี้
ประกอบด้วยแหล่งกำเนิดแสงเลเซอร์ เครื่องตรวจจับสัญญาณ ส่วนบังคับทิศทาง 
โดยมีวงจรทางอีเลคโทรนิคควบคุมการทำงานและความยาวของวัตถุและจุดประสงค์
ของการประดิษฐ์ดังกล่าว คือ เพื่อที่จะให้การวัดความยาวของวัตถุมีค่าถูกต้องแน่นอนยิ่งขึ้น 
        การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ จะต้องระบุถึงรายละเอียดของการประดิษฐ์
ที่ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ว่ามีลักษณะโครงสร้าง ส่วนประกอบ องค์ประกอบ หรือ
ขั้นตอนอย่างไรบ้าง การบรรยายในหัวข้อนี้จะต้องละเอียดสมบูรณ์ และชัดเจนพอที่
จะทำให้ผู้มีความชำนาญในระดับสามัญในสาขาวิทยาการนั้นๆ สามารถอ่านแล้วเข้าใจ
ถึงการประดิษฐ์นั้นได้ และสามารถนำไปใช้และปฏิบัติตามการประดิษฐ์นั้นได้ด้วยในหัวข้อ
การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์นี้ ผู้เขียนควรคำนึงถึงความชัดเจนเป็นหลักดังนั้น 
ควรกำหนดลักษณะและขั้นตอนการบรรยายให้ดี หากเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับกลไก 
หรือเครื่องมือ ต่างๆ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีรูปเขียนประกอบในกรณีดังกล่าว การอ้างอิง
ลักษณะทางโครงสร้างในหัวข้อนี้ จะต้องสอดคล้องกับรูปเขียนด้วย ตัวอย่างในกรณีท
ี่เป็นการขอรับสิทธิบัตรสำหรับเครื่องมือหรือกลไก ในขั้นแรกควรอธิบายถึงส่วน
ประกอบหรือโครงสร้างของการประดิษฐ์นั้นว่ามีส่วนประกอบอย่างไรประกอบกัน
ในลักษณะใด และประกอบกันแล้วจะให้ผลในทางปฏิบัติอย่างไร
 ขั้นที่สองควร
อธิบายถึงระบบการทำงานหรือกรรมวิธีในการผลิตเริ่มตั้งแต่นำวัตถุดิบเข้าระบบ
และผ่านขบวนการต่างๆ ของอุปกรณ์  ซึ่งควรจะระบุถึงรายละเอียดของขั้นตอนนั้นๆ 
ด้วย จนกระทั้งได้เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จออกมา

        คำอธิบายรูปเขียนโดยย่อ จะต้องระบุถึงรูปเขียนที่เสนอมาพร้อมกับคำขอ (ถ้ามี) 
โดยระบุว่า รูปเขียนแต่ละรูปแสดงถึงส่วนใดของการประดิษฐ์ เช่น รูปที่ 1 แสดงถึงส่วน
ประกอบทั้งหมดของเครื่องจักร รูปที่ 2 แสดงถึงส่วนประกอบส่วนใดส่วนหนึ่งของเครื่องจักร 
เป็นต้น
        วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด ในกรณีที่มีการระบุในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์
โดยสมบูรณ์ ถึงวิธีการประดิษฐ์หลายวิธี ผู้ขอจะต้องระบุถึงวิธีการประดิษฐ์ที่ดีที่สุด 
แต่ถ้ามีการเปิดเผยวิธีการประดิษฐ์ เพียงวิธีเดียวในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ 
ผู้ขอก็สามารถระบุว่า "วิธีการในการประดิษฐ์ที่ดีที่สุดได้แก่ วิธีการดังที่ได้บรรยายไว้ในหัวข้อ
การเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์" 
        การใช้ประโยชน์ของการประดิษฐ์ในการผลิตทางอุตสาหกรรม หัตถกรรม เกษตรกรรม 
หรือพาณิชยกรรม ในกรณีที่ลักษณะของการประดิษฐ์เองไม่สามารถแสดงได้ว่าจะนำไปใช
้ในการผลิตในด้านต่างๆ ได้หรือไม่เป็นอย่างไร เช่น การประดิษฐ์สารประกอบเคมีขึ้นใหม่ผู้
ขอจะต้องอธิบายให้เห็นว่า  สามารถนำเอาการประดิษฐ์นั้นไปใช้ในทางใดบ้าง และมีประโยชน์
อย่างไร แต่ถ้าโดยลักษณะของ การประดิษฐ์นั้นเอง แสดงให้เห็นได้อยู่แล้วว่าสามารถนำ
} ไปใช้ประโยชน์ในด้านการผลิตได้ ก็ไม่จำเป็น ต้องมีหัวข้อนี้ 
ข. ข้อถือสิทธิ
        ข้อถือสิทธิเป็นส่วนที่ผู้ขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ระบุถึงขอบเขตของการประดิษฐ์
ที่ต้องการได้รับความคุ้มครองข้อถือสิทธิเปรียบได้กับการกำหนดขอบเขตอันเป็นพื้นที่
ที่เป็นสิทธิของเจ้าของโฉนดที่ดิน ข้อถือสิทธิจะกำหนดขอบเขตอันเกี่ยวกับลักษณะของ
การประดิษฐ์ที่เป็นสิทธิของผู้ทรงสิทธิที่บุคคลอื่นมีหน้าที่ที่จะต้องเคารพและละเว้นจาก
การกระทำอันจะเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ทรงสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร
        ข้อถือสิทธิ เป็นการระบุถึงส่วนของการประดิษฐ์ที่ผู้ขอต้องการสงวนสิทธิมิให้คนอื่น
แสดงหาประโยชน์จากการประดิษฐ์ โดยหลักการทั่วไปแล้ว ขอบเขตของการประดิษฐ์ที่ระบุ
ในข้อถือสิทธิจะต้อง ไม่กว้างหรือเกินไปกว่าที่ผู้ขอได้ทำการประดิษฐ์นั้น และที่ได้เปิดเผย
ในรายละเอียดการประดิษฐ์  ดังนั้นหากผู้ขอต้องการขอถือสิทธิในลักษณะของส่วนของ
การประดิษฐ์ ก็จะต้องเปิดเผยรายละเอียด เกี่ยวกับลักษณะส่วนนั้นของการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ 
ชัดแจ้ง และรัดกุมในรายละเอียดการประดิษฐ์ด้วย ข้อถือสิทธิต้องระบุลักษณะของการประดิษฐ์
ที่ผู้ขอประสงค์จะขอรับความคุ้มครองโดยชัดแจ้ง รัดกุม และสอดคล้องกับรายละเอียดการ
ประดิษฐ์ ถ้าข้อถือสิทธิไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด คำขอนั้นอาจถูกปฏิเสธได้ 
หลักที่ว่าข้อถือสิทธิจะต้องสอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์ ได้กล่าวถึงแล้วข้างต้นส่วน
ที่ว่าข้อถือสิทธิจะต้องชัดแจ้งและรัดกุมนั้น พอสรุปได้ว่ามีอยู่ 2 ความหมายดังนี้
        1.ลักษณะของถ้อยคำที่ใช้จะต้องชัดแจ้งและรัดกุม 
                ถ้อยคำที่ใช้จะต้องชัดเจน ห้ามใช้ถ้อยคำที่คลุมเครือหรือมีความหมายเพื่อ
เลือกแบบกว้างๆ เช่น  ระบุว่าส่วนประกอบส่วนหนึ่งของการประดิษฐ์นั้น "ทำจากโลหะหรือ
สิ่งที่คล้ายคลึงกัน" ย่อมไม่ชัดเจน  เพราะสิ่งที่มีคุณสมบัติคล้ายคลึงกับโลหะมีมากมาย
        2. ลักษณะของการแยกและจัดลำดับข้อถือสิทธิ
                ความชัดแจ้งและรัดกุมของข้อถือสิทธิอาจเกิดขึ้นจากวิธีการแยกและการจัดลำดับ
ข้อถือสิทธิ  รวมทั้งการอ้างอิงถึงข้อถือสิทธิอื่นๆ ในคำขอเดียวกันนั้นด้วยการพิจารณาว่า
ควรแยกข้อถือสิทธิออกเป็นหลายข้อหรือควรมีข้อถือสิทธิเพียงข้อเดียวหรือไม่นั้น 
ขึ้นอยู่กับลักษณะของการประดิษฐ์ที่ขอรับสิทธิบัตร /อนุสิทธิบัตร ว่าการประดิษฐ์นั้นมี
ลักษณะองค์ประกอบหรือโครงสร้างซับซ้อนหรือไม่เพียงใด ถ้าเป็นการประดิษฐ์ที่ไม่ซับซ้อน
ก็ไม่ควรแยกข้อถือสิทธิเป็นหลายข้อ เพราะจะทำให้ขาดความชัดแจ้งและรัดกุม ในทางกลับกัน
ถ้าเป็นการประดิษฐ์ที่ซับซ้อนมาก หากไม่แยกข้อถือสิทธิออกเป็นหลายๆ ข้อก็จะทำให้ขาดความ
ชัดแจ้งและรัดกุมเช่นเดียวกัน ข้อถือสิทธิที่ใช้ระบุถึงลักษณะทางเทคนิคอันเป็นสาระสำคัญ
ของการประดิษฐ์เรียกว่า "ข้อถือสิทธิหลัก" ส่วนข้อถือสิทธิที่ระลึกถึงลักษณะทางเทคนิคอันเป็น
ลักษณะพิเศษหรือ รายละเอียดปลีกย่อย เรียกว่า "ข้อถือสิทธิรอง" โดยทั่วไป การประดิษฐ์
ที่ขอรับสิทธิบัตรมักมีลักษณะ ที่ไม่ซับซ้อนมากจึงมักจะมีข้อถือหลักเพียงข้อเดียวและมีข้อถือ
สิทธิรองอีก 2-3 ข้อ ในกรณีที่ข้อถือสิทธิหลักเพียงข้อเดียวไม่สามารถคลุมถึงลักษณะทางเทคนิค
ของการประดิษฐ์ได้ทั้งหมด ผู้ขอจะระบุข้อถือสิทธิหลักหลายข้อสำหรับลักษณะของการประดิษฐ์
ประเภทเดียวกันในคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ฉบับหนึ่งก็ได้ การอ้างถึงข้อถือสิทธิอื่นใน
ข้อถือรองนั้น จะต้องอ้างในลักษณะที่เป็นทางเลือกเท่านั้น ประกอบด้วยเครื่องเขย่าที่ม
ีลักษณะพิเศษ…." แต่จะระบุว่า "6. เครื่องซักผ้าตาม 1 และ 4. ซึ่งประกอบด้วยเครื่องเขย่า
ที่มีลักษณะพิเศษ" ไม่ได้
ค. รูปเขียน (ถ้ามี) 
        เป็นส่วนที่จะช่วยให้ผู้อ่านคำขอรับสิทธิบัตรสามารถเข้าใจรายละเอียดการประดิษฐ์ได้ดีขึ้น 
ดังนั้น กฎหมายจึงกำหนดว่า หากจำเป็นเพื่อที่จะทำให้สามารถเข้าใจการประดิษฐ์โดยทั่วไป รูปเขียน
มักจะจำเป็นในกรณีที่เป็นคำขอรับสิทธิบัตรสำหรับการประดิษฐ์ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ฟิสิกส์ด้วย 
หากผู้ขอไม่ยื่นรูปเขียนในกรณีที่จำเป็นคำขอนั้นอาจถูกปฏิเสธได้ รูปเขียนจะต้องแสดงให้เห็นชัดเจน
สอดคล้องกับรายละเอียดการประดิษฐ์และเป็นไปตามหลักวิชาการเขียนแบบ ตามลักษณะและ
วิธีที่อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญากำหนด เช่น จะต้องเขียนด้วยหมึกสีดำเข้มที่สามารถอยู่ได้ทนนาน 
และห้ามระบายสีเขียนโดยใช้อุปกรณ์การเขียนแบบมีสัดส่วนที่ถูกต้อง และใช้สัญลักษณ์ (Drawing Symbols) 
ตามที่กำหนด 
        รูปเขียน ให้แสดงรูปเขียนที่ช่วยให้สามารถเข้าใจถึงลักษณะของการประดิษฐ์นี้ได้ดียิ่งขึ้น
รูปเขียนนี้ต้องเป็นรูปที่เขียนขึ้นตามหลักวิชาการเขียนแบบ คือ ใช้เครื่องมือในการวาดเขียน
เช่น การลากเส้นตรงต้องใช้ไม้บรรทัด การวาดรูปวงกลมต้องใช้วงเวียนหรือเครื่องเขียนแบบอื่น ๆ

(รูปถ่ายไม่สามารถใช้ประกอบการพิจารณาได้) และให้มีหมายเลขชี้แสดงชิ้นส่วนต่าง ๆ
เพื่อใช้ประกอบการอธิบายในหัวข้อการเปิดเผยการประดิษฐ์โดยสมบูรณ์ โดยหมายเลขเหล่าน
ี้ต้องไม่อยู่ภายในวงกลม วงเล็บ
หรือเครื่องหมายใด ๆ และหมายเลขเดียวกันให้ชี้แสดงชิ้นส่วนเดียวกัน
และไม่ต้องระบุขนาดหรือบอกขนาดของชิ้นส่วนที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น และไม่ต้องอธิบายรูปเขียน
ให้ระบุเพียง รูปที่ 1,รูปที่ 2 หรือรูปที่ 3 เท่านั้น

ง. บทสรุปการประดิษฐ์
        เป็นส่วนของคำขอสิทธิบัตรการประดิษฐ์ที่จะช่วยให้บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิบัตร 
และผู้สนใจ สามารถตรวจค้น หรือค้นคว้าเกี่ยวกับการประดิษฐ์นั้นโดยไม่ต้องเสียเวลามาก  ผู้ขอจะต้องจัดทำ
บทสรุปการประดิษฐ์ในทุกกรณี หากผู้ขอไม่ยื่นบทสรุปการประดิษฐ์ด้วย คำขอนั้นอาจถูกปฏิเสธได้ 
        บทสรุปการประดิษฐ์ต้องสรุปสาระสำคัญของการประดิษฐ์ที่ได้เปิดเผยหรือแสดงไว้ในรายละเอียดการ
ประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิและรูปเขียน (ถ้ามี) โดยจะต้องระบุลักษณะทางเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับการประดิษฐ์โดยย่อ 
แต่ต้องเป็นไปในลักษณะที่จะทำให้เข้าใจได้ดีขึ้นถึงปัญหาทางเทคนิคตลอดจนการแก้ไขปัญหาโดยการ
ประดิษฐ์ และการใช้การประดิษฐ์นั้น โดยจะต้องรัดกุม ชัดแจ้งและมีถ้อยคำไม่เกิน 200 คำ 
        การกำหนดจำนวนหน้า ในแต่ละหน้าจะมีการกำหนดหน้าและจำนวนหน้าไว้ที่กึ่งกลางหน้ากระดาษเอ 4
ด้านบนสุด ถ้าเป็นเนื้อหาในส่วนเดียวกัน ได้แก่ รายละเอียดการประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ รูปเขียน และบทสรุป
การประดิษฐ์ ให้เรียงลำดับหน้าต่อเนื่องกันไป และให้ขึ้นหน้าและจำนวนหน้าใหม่ของแต่ละส่วนเช่น หน้า 1
ของจำนวน 3 หน้า,หน้า 2 ของจำนวน 3 หน้า ,หน้า 3 ของจำนวน 3 หน้า ....เป็นต้น
        การกำกับบรรทัด ทุกส่วนและแต่ละหน้า หากมีบรรทัดเกิน 5 บรรทัด ให้ระบุหมายเลขกำกับบรรทัดทุก 5
บรรทัด ทางด้านซ้ายมือ และระบุต่อเนื่องกันลงมาตามลำดับ เช่น 5,10,15.....เป็นต้น         ส่วนประกอบทั้ง 5 ส่วน
ของคำขอรับสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร  นอกจากส่วนที่ 1 คือแบบพิมพ์คำขอแล้วส่วนอื่นๆ คือ รายละเอียดการ
ประดิษฐ์ ข้อถือสิทธิ รูปเขียน และบทสรุปการประดิษฐ์